วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2561

การศึกษาประสิทธิภาพของผ้าฝ้ายเคลือบยางพารา

Leave a Comment

การศึกษาประสิทธิภาพของผ้าฝ้ายเคลือบยางพารา

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ผ้าฝ้าย

โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของผ้าฝ้ายเคลือบยางพารา ด้วยการนำยางพารามา เพิ่มคุณสมบัติที่หลากหลายอาทิเช่น การกันน้ำ ความยืดหยุ่น และความทนต่อสภาวะกรดเบส  เพื่อให้ผ้าฝ้าย สามารถนำมาใช้งานได้หลากหลายยิ่งขึ้น
          ในการเคลือบผ้าฝ้ายด้วยการศึกษาผลของระยะเวลาที่ใช้ในการเคลือบผ้าฝ้ายด้วยน้ำยางพารา พบว่า เมื่อเคลือบผ้าฝ้ายด้วยยางพารานั้นมีความหนาเพิ่มมากขึ้นจากเดิม ซึ่งระยะเวลา 5 นาทีนั้นผ้ามีความหนา 0.654 mm ซึ่งเป็นความหนาที่เหมาะสมผู้จัดทำได้นำเลือกระยะเวลาที่5นาทีมาทำการเคลือบผ้าฝ้ายแล้วนำมาศึกษาประสิทธิภาพของสารละลายและความเข้มข้นที่มีผลต่อการแข็งตัวของยางพารา โดยสารละลายที่ผู้จัดทำเลือกได้แก่ สารละลาย HCl, CH3COOH, Ethanol, NaOH, และ Glycerol โดยสังเกตสมบัติของผ้าฝ้ายเคลือบยางพารา ได้แก่ การแข็งตัว มีกลิ่น และการเกิดรา ซึ่งพบว่า HCl 0.1 M ดีที่สุด  ศึกษาสารละลาย HCl 0.1 M + Glycerol และ CH3COOH 0.1M + Glycerol ชนิดใดเหมาะสมกว่ากัน ซึ่งพบว่าการนำผ้าฝ้ายเคลือบยางพารามาแช่ HCl 0.1 M + Glycerol ทำให้ผ้าฝ้ายเคลือบยางพารามีลักษณะความเป็นกาวที่น้อยลง ไม่มีกลิ่นและไม่เกิดรา สุดท้ายผู้จัดทำได้นำมาทดสอบประสิทธิภาพของผ้าฝ้ายเคลือบยางพารา สรุปผลการทดลองได้ว่า ด้านการทดสอบความแข็งแรงนั้นพบว่า ผ้าฝ้ายเคลือบยางพาราจะมีแรงต้านมากกว่าผ้าฝ้ายปกติทำให้ ด้านทดสอบการดูดซับน้ำ พบว่าระยะทางการเคลื่อนที่ของน้ำ/เวลา ของผ้าฝ้ายที่เคลือบยางพารานั้นมีค่าน้อยกว่าผ้าฝ้ายปกติ ด้านการทดสอบความร้อนพบว่า ช่วงแรกอุณหภูมิช่วงต้นจะไม่มีผลต่อความความขุ่นของน้ำแต่เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นถึง 100 จะทำให้มีความขุ่นเพิ่มมากขึ้น ด้านการทดสอบความเป็นกรดเบส พบว่าที่สภาวะความเป็นกรดไม่มีผลต่อการละลายของยางพารา  ซึ่งในสภาะวะที่เป็นเบส ยิ่งค่า pH เพิ่มมากขึ้นการละลายของน้ำยางพาราก็จะออกจากผ้ามากขึ้น โดยเริ่มต้นที่ pH เท่ากับ 9 และจะเพิ่มมากขึ้นไปเรื่อยๆ



>>คลิีกเพื่อดาวน์โหลด<<




Read More

อิฐดินเผามวลเบาจากชานอ้อย

Leave a Comment
อิฐดินเผามวลเบาจากชานอ้อย
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อิฐ
การศึกษาอิฐดินเผามวลเบาจากชานอ้อย มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของดินที่ใช้ในการขึ้นรูปอิฐดินเผามวลเบาจากชานอ้อย 2. เพื่อเปรียบเทียบอัตราส่วนผสมของอิฐดินเผามวลเบาจากชานอ้อย ที่เผาขึ้นรูปที่อุณหภูมิที่แตกต่างกันต่อสมบัติทางกายภาพของอิฐดินเผามวลเบาจากชานอ้อย จากผลการทดลอง พบว่าองค์ประกอบหลักที่สำคัญคือ ซิลิกอนไดออกไซด์ (SiO2) ซึ่งส่งผลให้ชิ้นงานอิฐมีความแข็งแรงเมื่อเผาที่อุณหภูมิสูง รองลงมาคืออะลูมิเนียมออกไซด์ (Al2O3) ซึ่งทำให้อิฐมีความทนไฟสูง และออกไซด์ของเหล็ก (Fe2O3) ที่ส่งผลให้ชิ้นงานหลังเผามีสีแดง เมื่อพิจารณาส่วนประกอบของดิน พบว่ามีผลรวมของเฟอริคออกไซด์ (Fe2O3) แคลเซียมออกไซด์ (CaO) แมกนีเซียมออกไซด์ (MgO) และไททาเนียมออกไซด์ (TiO2) มากกว่าร้อยละ 9 แสดงว่าดินที่ใช้ในการทดลองนี้เป็นดินประเภทไม่ทนไฟ นอกจากนั้นส่วนประกอบเหล่านี้ยังเป็นตัวช่วยให้กระบวนการเผาอิฐ (Flux) เกิดได้ง่ายที่อุณหภูมิไม่สูงอีกด้วย เมื่อเปรียบเทียบปริมาณร้อยละโดยน้ำหนักของชานอ้อยที่เติมลงไป ที่เผาที่อุณหภูมิที่แตกต่างกันต่อสมบัติทางกายภาพของอิฐดินเผามวลเบาจากชานอ้อย พบว่าเมื่อเผาที่อุณหภูมิ 800 องศาเซลเซียส มีค่าร้อยละการหดตัวและค่าร้อยละน้ำหนักที่สูญหายหลังเผาของชิ้นงานมากที่สุด เมื่อเติมชานอ้อยร้อยละ 15 รองลงมาคือร้อยละ 10, 5 และ 2.5 โดยมีค่าร้อยละการหดตัวหลังเผา คือ 7.05, 5.81, 4.56 และ 4.39 ตามลำดับ มีร้อยละน้ำหนักที่สูญหายหลังเผา 20.88, 20.00, 14.12 และ 9.03 ตามลำดับ และมีค่าความต้านทานแรงอัดของชิ้นงานมากที่สุด เมื่อเติมชานอ้อยร้อยละ 2.5 รองลงมาคือร้อยละ 5, 10 และ 15 โดยมีค่าความต้านทานแรงอัด คือ 12.53, 10.79, 4.36 และ 4.18 ตามลำดับ เมื่อเผาที่อุณหภูมิ 900 องศาเซลเซียส พบว่ามีค่าร้อยละการหดตัวและค่าร้อยละน้ำหนักที่สูญหายหลังเผามากที่สุด เมื่อเติมชานอ้อยร้อยละ 15 รองลงมาคือร้อยละ 10, 5 และ 2.5 โดยมีค่าร้อยละการหดตัว คือ 7.16, 6.78, 6.65 และ 6.44 ตามลำดับ มีร้อยละน้ำหนักที่สูญหายหลังเผา 26.09, 22.64, 18.10 และ 14.2 ตามลำดับ และมีค่าความต้านทานแรงอัดของชิ้นงานมากที่สุด เมื่อเติมชานอ้อยร้อยละ 2.5 รองลงมาคือร้อยละ 5, 10 และ 15 โดยมีค่าความต้านทานแรงอัด คือ 8.97, 6.27, 3.64 และ 3.59 ตามลำดับ  เมื่อเผาที่อุณหภูมิ 1000 องศาเซลเซียส พบว่ามีค่าร้อยละการหดตัว และค่าร้อยละน้ำหนักที่สูญหายหลังเผามากที่สุดคือร้อยละ 15 รองลงมาคืออิฐดินเผามวลเบาจากชานอ้อยร้อยละ 10, 5 และ 2.5 โดยมีค่าร้อยละการหดตัวหลังเผา คือ 8.99, 8.19, 7.96 และ 7.74 ตามลำดับ มีร้อยละน้ำหนักที่สูญหายหลังเผา 27.30, 26.80, 21.59 และ 17.20 ตามลำดับ และมีค่าความต้านทานแรงอัดของชิ้นงานมากที่สุดคือร้อยละ 2.5 รองลงมาคือร้อยละ 5, 10 และ 15 โดยมีค่าความต้านทานแรงอัด คือ 7.81, 3.48, 3.41 และ 3.37 ตามลำดับ  ส่วนอิฐดินเผามวลเบาที่ไม่ผสมชานอ้อย พบว่าเมื่อนำไปเผาขึ้นรูปจะแตก   ในทุกอุณหภูมิที่ใช้เผาขึ้นรูป




Read More

ศึกษาการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารสกัดจากรากโล่ติ๊นและ กลอยเพื่อกำจัดเพลี้ยจักจั่นสีเขียวในนาข้าว

Leave a Comment
ศึกษาการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารสกัดจากรากโล่ติ๊นและ กลอยเพื่อกำจัดเพลี้ยจักจั่นสีเขียวในนาข้าว 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เพลี้ย

ประเทศไทยมีอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ข้าวเป็นพืชผลทางการเกษตรที่สำคัญของประเทศไทย มีพื้นที่ปลูกข้าว 68.235 ล้านไร่ ได้ผลผลิต 31.807 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่เป็น 466 ก..  (สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย,2560) ทั้งคนไทยยังรับประทานเป็นอาหารและอีกทั้งยังส่งออกต่างประเทศทำให้รายได้ส่วนหนึ่งของประเทศมาจากการขายข้าวหรือส่งออกข้าวและยังเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วยสาเหตุที่ทำให้ผลผลิตข้าวลดลงไม่เป็นไปตามศักยภาพข้าวส่วนหนึ่งมาจาก เพลี้ย ซึ่งเป็นศัตรูพืชที่เป็นหนึ่งในปัญหาที่ทำให้ชาวนาได้ผลผลิตลดลง
ซึ่งเพลี้ยที่พบเห็นอยู่ส่วนมากและเป็นที่รู้จักกันดีในนาข้าว คือ เพลี้ยจักจั่นสีเขียว ซึ่งในช่วงปีที่ผ่านมาพบว่ามีแนวโน้มที่อัตราการเพิ่มจำนวนจะเพิ่มมากขึ้นดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงคาดการณ์ไว้ว่าในอนาคตเพลี้ยจักจั่นสีเขียวจะต้องส่งผลเสียให้กับชาวนาชาวนาส่วนใหญ่มักจะกำจัดเพลี้ยโดยการใช้สารเคมีแต่สารเคมีที่ใช้กลับส่งผลกระทบให้ระบบนิเวศในนาข้าวเสื่อมโทรมลง
คณะผู้จัดทำจึงเล็งเห็นปัญหาดังกล่าวของชาวนาพวกเราจึงต้องการกำจัดเพลี้ยจักจั่นสีเขียวโดยส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศในนาข้าวให้น้อยที่สุดซึ่งเมื่อศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจึงพบว่ารากโล่ติ๊นมีสารโรติโนนและกลอยมีสารไดออสคอรีนที่สามารถกำจัดเพลี้ยได้ทางคณะผู้จัดทำจึงได้ทำโครงงานนี้ขึ้นมาเพื่อหวังว่าจะสามารถกำจัดเพลี้ยได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศในนาข้าวและทำให้ชาวนามีรายได้เพิ่มขี้นเนื่องจากการลดต้นทุนในการซื้อสารเคมีเพื่อกำจัดเพลี้ย



>>หน้าปก เนื้อหา<<


Read More

การสร้างรูปเรขาคณิตจาก fractals รูปสามเหลี่ยมด้านเท่า โดยใช้โปรแกรม GSP

Leave a Comment
การสร้างรูปเรขาคณิตจาก fractals รูปสามเหลี่ยมด้านเท่า โดยใช้โปรแกรม GSP
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ fractal

โครงงานเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและสร้างรูปเรขาคณิตจาก fractals ของรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ซง่ึจะศึกษาความสัมพันธ์ของสัดส่วนพื้นที่เท่ากับอนุกรมของพื้นที่รูป fractals สามเหลี่ยมด้านเท่าและรูปแบบของ รูปfractalsที่เกิดขึ้นเมื่อคูณด้วยค่าคงที่ต่างๆ โดยโปรแกรม The Geometer’s Sketchpad (GSP)   ในการแบ่งรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าจะแบ่งออกเป็นสัดส่วน ( 1 𝑎1 ) ที่เท่าๆ ตั้งแต่ 2-10 เท่ากับอนุกรมอนันต์ ของพื้นที่ (𝑆∞) ตั้งแต่ 1- 1 9 จากนั้นท าการทดลองหาความสัมพันธ์ของสัดส่วนพื้นที่เท่ากับอนุกรมของพื้นที่รูป fractals สามเหลี่ยมด้านเท่าจะสามารถสร้างได้ทั้งหมด 6 รูป ซึ่ง fractals ที่ไม่สามารถสร้างได้นั้นมีจ านวนสัดส่วน ที่ประกอบด้วยจ านวนเฉพาะ ยกเว้น 2 และ 3 ที่เป็นจ านวนเฉพาะที่มาสามารถสร้างรูปได้และจากการสร้างรูป fractals โดยคูณค่าคงที่เข้ากับ a1 ของ fractals รูปสามเหลี่ยมด้านเท่าจากขั้นตอนที่ 3.2.1 พบว่า รูปfractals สามเหลี่ยมด้านเท่าที่มี a1 = 1 4 จะได้ Sn = 1 3  และ รูปสามเหลี่ยมด้านเท่าที่มี a1 = 3 4 จะได้ Sn = 3 นอกจากนี้ยัง ศึกษารูป fractals ที่มีจ านวนสัดส่วนที่แบ่ง ( 1 𝑎1 ) ที่มีค่า 1 – 100 โดยท าการแยกตัวประกอบของ a1 จะสามารถ สร้างได้ 19 รูป จากการทดลองสรุปได้ว่า สามารถสร้างfractals ที่มีจ านวนสัดส่วนที่แบ่ง ( 1 𝑎1 ) ที่ไม่ได้ประกอบด้วย จ านวนเฉพาะได้ยกเว้น 2 และ 3 และรูปสามเหลี่ยมที่คูณค่าคงที่เข้ากับ a1 จะท าให้ภาพ fractals มีพื้นที่ที่ถูกแร เงามากกว่ารูปสามเหลี่ยมที่มีค่าคงที่ที่คูณเข้ากับ a1 น้อยกว่า



>>คลิ๊กเพื่อดาวน์โหลด<<
Read More

การศึกษาการผลิตผ้าด้วยเส้นใยจากใบอ้อยผสมเส้นใยฝ้ายเคลือบนาโนซิงค์ออกไซด์

Leave a Comment

การศึกษาการผลิตผ้าด้วยเส้นใยจากใบอ้อยผสมเส้นใยฝ้ายเคลือบนาโนซิงค์

ออกไซด์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ใบอ่อย

       ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจการค้ามั่นคงกับประเทศค้าขายมากมายแน่นอนว่ามีโรงงานอุตสาหกรรมในแต่ละภูมิประเทศเพื่อการผลิตแปรรูปและการขนส่งโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร เป็นโรงเรียนที่ใกล้บริเวณโรงงานอุตสาหกรรมด้านการผลิตน้ำตาลจากอ้อยทุกๆครั้งในขั้นตอนการผลิตจะไม่ได้ใช้ส่วนของใบอ้อยมาใช้ผลิตน้ำตาลและนำไปเผาทิ้งก่อให้เกิดมลภาวะทางอากาศรอบๆบริเวณแหล่งเผาใบอ้อยสังคมรอบข้างได้รับความเดือดร้อนดังนั้นทางคณะผู้จัดทำจึงหาแนวทางแก้ไขปัญหานี้ด้วยการใช้ใบอ้อยให้เกิดประโยชน์แทนการกำจัดทิ้ง โดยทำการศึกษา 1) ศึกษาระยะเวลาที่เหมาะสมในการสกัดเส้นใยจากใบอ้อย 2) เปรียบเทียบคุณสมบัติเชิงกลของเส้นใยและเส้นด้าย 3) ศึกษาความเข้มข้นของสารยึดติดที่มีผลต่อการยึดติดของสารนาโนในผ้า  และ 4) ศึกษาความสามารถในการต้านแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ของผ้าที่เคลือบสารนาโนและผ้าปกติ พบว่าเส้นใยจากใบอ้อยสามารถสกัดได้ดีเมื่อแช่ด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์เป็นระยะเวลา 8 ชั่วโมงโดยมีความเข้มข้น 10% w/w สังเกตจากลักษณะตามความเหมาะสมและการใช้งานในขั้นตอนต่อไป ผลจากการเปรียบเทียบเส้นใยจากใบอ้อยและเส้นด้ายพบว่า มีค่าความแข็งแรงสำหรับเส้นใยเดี่ยวเป็น 76 และ 82 ตามลำดับ สำหรับเส้นใยกลุ่มมีค่าเป็น 83 และ 88 ตามลำดับโดยใช้เครื่อง Single Fiber Strength Tester และ Pressley fiber bundles strength tester ส่วนจากการศึกษาการยึดติดของสารนาโนซิงค์ออกไซต์กับผ้าโดยใช้โพลิอะคริลิกที่มีความเข้มข้น 1.0%w/vจะทำให้มีประสิทธิภาพการยึดติดมากที่สุด และจากการศึกษาการต้านแบคทีเรีย Staphylococcus aureus โดยใช้สารนาโนพบว่าสามารถต้านการเจริญเติบโตในระดับการเจือจาง 10-5 ซึ่งแสดงถึงความสามารถการยับยั้งของสารนาโนได้จริง



>>คลิ๊กเพื่อดาวน์โหลด<<

Read More

การทดสอบประสิทธิภาพของหนังฟอกสีหลังเคลือบด้วยคาร์บอกซิเมทิลเซลลูโลส

Leave a Comment
การทดสอบประสิทธิภาพของหนังฟอกสีหลังเคลือบด้วยคาร์บอกซิเมทิล

เซลลูโลส


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส

อุตสาหกรรมเครื่องหนังของไทยมีการพัฒนามานานกว่า 70 ปี โดยการพัฒนาจากการเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนเน้นการใช้แรงงานจำนวนมากในการผลิตมาเป็นการผลิตแบบโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการนำเครื่องจักรและเทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่มาใช้ ตลอดจนมีการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตอยู่เสมอในการนำหนังฟอกเข้าสู่กระบวนการผลิตเครื่องหนังนั้น ช่างหนังต้องทำการเตรียมท้องหนังก่อน เพื่อทำความสะอาดหนัง ลดตำหนิ ทำให้หนังตึง เพราะโดยธรรมชาติของหนังมักมีการบวมย่น การเตรียมหนังจะทำให้หนังเป็นแผ่นเรียบพร้อมใช้งาน เพื่อทำให้หนังเรียบ ไม่เป็นขุย และทำให้หนังมีสภาพคงทนโดยใช้คาร์บอกซิเมทิลเซลลูโลสหรือซีเอ็มซี (carboxymethylcellulose,CMC) ซึ่งเป็นสารที่มีคุณสมบัติเป็นสารคงสภาพ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่เป็นอันตราย เป็นตัวเคลือบท้องหนัง ทางผู้จัดทำเห็นว่าไม่มีงานวิจัยรองรับว่าการเคลือบท้องหนังด้วย CMC จะมีประสิทธิภาพอย่างไรเมื่อนำไปใช้งาน ด้วยเหตุนี้ผู้จัดทำจึงนำหนังฟอกสีที่เคลือบด้วย CMC ไปทดสอบความเรียบของหนังฟอกสีและทดสอบประสิทธิภาพการยึดเกาะของคาร์บอกซิเมทิลเซลลูโลส(CMC) ที่เคลือบหนังฟอกสี เมื่อนำไปแช่ในน้ำกลั่นที่อุณหภูมิห้อง, สารละลายกรด HCl, สารละลาย NaCl และสารละลาย NaOH พบว่า CMC มีค่าดูดกลืนแสงสูงสุดที่ความยาวคลื่น 195 nm เมื่อนำของเหลวที่ผ่านการแช่หนังไปวัดค่าความเข้มข้นของ CMC จะได้ว่าในสารละลายกรด HCl, สารละลาย NaOH, สารละลาย NaCl และน้ำอุณหภูมิห้อง มี CMC เข้มข้น 0.166, 0.087, 0.008 และ 0.087 mg/L ตามลำดับ 


>>บท1-5<< >>บทคัดย่อ<<




Read More

ถุงน้ำร้อนอเนกประสงค์

Leave a Comment
ถุงน้ำร้อนอเนกประสงค์ 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ถุงน้ำร้อน

 ในปัจจุบันอาการปวดตามบริเวณร่างกายในส่วนต่างๆมักเกิดขึ้นได้กับทุกๆช่วงอายุคน ซึ่งอาการ ปวดต่างๆมีทั้งภายในและภายนอกร่างกาย เช่น  กล้ามเนื้อเกร็ง หรือเจ็บปวดที่กล้ามเนื อ ปวดบิดใน ท้อง ปวดประจ้าเดือน ปวดตามข้อเนื่องจากโรครูมาติก มีการต่างๆที่ช่วยบรรเทาอาการปวดซึ่งถุง ประคบร้อนก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยบรรเทาอาการปวดต่างๆ  ซึ่งถุงประคบร้อนเป็นอุปกรณ์ที่พบเห็นได้ ในทั่วๆไปและมีหลายแบบทั้ง แบบถุงประคบร้อนแบบไฟฟ้าและแบบไม่ใช้ไฟฟ้า โดยถุงประคบที่ใช้ แบบไฟฟ้าอาจจะมีอันตรายเกี่ยวกับการใช้ไฟฟ้าต่อผู้ใช้งาน ซึ่งการประคบร้อนที่ถูกวิธีควรจะมี อุณหภูมิที่เหมาะสม แต่เราจะเห็นได้ว่าถุงประคบร้อนในปัจจุบันนันไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้
ผู้จัดท้าจึงได้พัฒนาถุงประคบร้อนให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น เพื่อให้เหมาะสมและปลอดภัยต่อ ผู้ใช้งาน


>>คลิ๊กเพื่อดาวน์โหลด<<
Read More

ถ้วยตวงพร้อมใช้

Leave a Comment
ถ้วยตวงพร้อมใช้ 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ถ้วยตวง
การชั่งตวงอาหารเป็นสิ่งสำคัญ และจำเป็นมากในการประกอบอาหารเพื่อให้ผลของอาหารที่ปรุงออกมาแน่นอนและใกล้เคียงกันทุกครั้ง ซึ่งนอกจากจะต้องใช้วิธีประกอบอาหารเหมือนกันทุกครั้งแล้ว ยังต้องมีการควบคุมเครื่องปรุงทั้งด้านคุณภาพและสัดส่วน อาหารจึงออกมามีลักษณะดี รสอร่อย และคุณภาพเหมือนกันทุกครั้ง ส่วนผสมของเครื่องปรุงที่ผิดพลาด ไม่ว่าจะขาดหรือเกินจะทำให้ไม่ได้อาหารรสดี ฉะนั้นทุกครั้งที่ทำอาหารควรมีสัดส่วนของเครื่องปรุงที่แน่นอน โดยใช้เครื่องตวงที่ได้มาตรฐานและต้องชั่งตวงโดยถูกวิธีด้วยถ้วยตวง เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการตวง มี ๒ ชนิด คือ ถ้วยตวงของเหลว และถ้วยตวงของแห้ง โดยถ้วยตวงของเหลว ใช้สำหรับตวงของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน นม กะทิ ฯลฯ ส่วนถ้วยตวงของแห้ง จะใช้สำหรับตวงของแห้ง เช่น แป้ง น้ำตาล นมผง ฯลฯ ซึ่งการใช้ถ้วยตวงของแห้งนี้จะมีวิธีการใช้คือ ตักของที่ต้องการตวง เช่น แป้ง น้ำตาล  ลงในถ้วยตามขนาดที่ต้องการ  เช่น ขนาด 1/2 ถ้วย  จากนั้นก็นำเอาสันมีดหรือสันไม้บรรทัด  ปาดส่วนเกินออกโดยเหลือให้พอดีเสมอขอบถ้วยตวง จึงจะได้ปริมาณที่ต้องการ
ดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงคิดค้นนวัตกรรมนี้ขึ้นมา เพื่อสะดวกต่อการใช้งาน โดยไม่ต้องใช้สันมีดหรือสันไม้บรรทัดในการปาดส่วนเกินออก แต่ยังคงปริมาณที่ตวงไว้ในปริมาณที่ต้องการใช้


Read More

การศึกษาไกลออซอลและสารสกัดเคราตินจากเส้นผมต้านการยับย่นและเป็นสาร หน่วงไฟในผ้าไหม

Leave a Comment
การศึกษาไกลออซอลและสารสกัดเคราตินจากเส้นผมต้านการยับย่นและเป็นสาร หน่วงไฟในผ้าไหม 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สารสกัดเคราติน

การตกแต่งสำเร็จบนผ้าเพื่อให้มีสมบัติพิเศษต่างๆ เช่น ทนต่อการยับย่น ต้านเชื้อรา และแบคทีเรีย ทนต่อการติดไฟ หรือทนต่อสิ่งสกปรก สามารถทำได้โดยแต่งสารเคมีที่ให้สมบัติพิเศษดังกล่าวลงบนผ้าด้วยวิธีจุ่มอัด-อบแห้ง-อบผนึก (Pad-Dry-Cure Method) แต่ถ้าต้องการตกแต่งผ้าให้มีสมบัติมากกว่าหนึ่งอย่างจะต้องทำมากกว่าหนึ่งขั้นตอน เพราะเงื่อนไขในการตกแต่งสารเคมีเพื่อแสดงสมบัติพิเศษแต่ละอย่างไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้น การศึกษาความเป็นไปได้ในการตกแต่งผ้าฝ้ายให้มีสมบัติพิเศษมากกว่าหนึ่งในขั้นตอนเดียว จึงเป็นหัวข้อที่น่าศึกษาเพราะถ้าสามารถทำได้จะช่วยลดขั้นตอนและเวลาในการตกแต่งสำเร็จบนผ้า ซึ่งจะใช้ผ้าไหมในการทดลอง          ไหมเป็นเส้นใยโปรตีนธรรมชาติ มีสารโปรตีนที่เรียกว่า Fibroin และมีโปรตีนที่เรียกว่า เซริซิน (Sericen) มีลักษณะเหนียวเหมือนกาว ช่วยยึดให้เส้นใยสองเส้นติดกัน โปรตีนของเส้นใยไหม ประกอบด้วยกรดอมิโนเกาะเข้าด้วยกัน เป็นโซ่ยาว เรียกว่า โพลิเปปไทด์ (polypeptide chain) สาร fibroin แตกต่างจากสารเคราติน (Keratln) ซึ่งเป็นโปรตีนในขนสัตว์ คือไม่มีตัวยึดที เรียกว่า cystine หรือ Sulphur linkage เช่นในเส้นใยขนสัตว์ โปรตีนของเส้นใยไหมประกอบด้วย กรดอะมิโน ประมาณ 15 ซนิด ส่วนใหญ่เป็นกรดอะมิโนเดี่ยว เช่น Glycin, Alanine, Serine เป็นต้น โมเลกุลของเส้นใยไหมเรียงตัวกันเป็นระเบียบดีมาก ทำให้เส้นใยมีความเหนียวแข็งแรงทนทาน เส้นใยไหมมีลักษณะเด่น คือ เส้นใยเหนียวมาก ดูดความชื้นได้ดี ทนทาน แต่ดูแลรักษายาก สวมใส่สบาย เหมาะกับทุกสภาพอากาศ (อากาศไม่หนาวมากหรือร้อนจนเกินไป) ไม่ทนต่อกรด ทนด่าง และสารเคมีอื่นๆ เนื้อผ้ามีความหนาแน่นน้อย (น้ำหนักเบา)
 ในโครงงานนี้จะใช้เปรียบเทียบสารผสม 3 ตัว คือ เคราติน ไกลออกซอล และตัวเร่งปฏิกิริยาคืออะลูมิเนียมซัลเฟต โดยตัวแรกคือ เคราติน หมายถึง เส้นใยผิวหนังชนิดหนึ่งที่อยู่ที่บริเวณหนังกำพร้าของคนเรา เป็นเซลล์ที่ผิวหนังสร้างขึ้นจากเซลเยื่อบุผิวหนัง อัดแน่นเป็นแผ่นบางใสในชั้นนอกสุด เรียกว่า หนังขี้ไคล เคราตินจะช่วยป้องกันการดูดซึมของสารต่างๆเข้าสู่ร่างกาย ลดอันตรายจากรังสีอัลตราไวโอเลต และป้องกันการระเหยของน้ำจากผิวหนัง โดยปกติเคราตินนั้นจะพบได้ทั่วไปในสัตว์ต่างๆ ที่บริเวณผิวหนัง ขน และเล็บ เนื่องจากสิ่งมีชีวิตที่มีผิวหนังและมีขน จำเป็นต้องอาศัยเคราตินปกหุ้ม เพื่อป้องกันสารต่างๆ โดยเฉพาะน้ำเข้าสู่ร่างกายมากเกินไปจนเกิดอันตราย ตัวที่สองคือไกลโคซอล โดยไกลออกซอลเป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีสูตรทางเคมี OCHCHO เป็นของเหลวสีเหลืองที่ระเหยกลายเป็นก๊าซสีเขียว เป็นพอลิอัลดีไฮด์ที่เล็กที่สุด (aldehyde สองกลุ่ม) โครงสร้างของมันมีความซับซ้อนมากกว่าที่แสดงโดยทั่วไปเนื่องจากโมเลกุลของไฮเดรตและโอลิโกเมอริไลซ์เป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตขึ้นเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์หลัก ไกลออกซอลทำขึ้นเป็นครั้งแรกและได้รับการตั้งชื่อโดยนักเคมีชาวเยอรมัน - อังกฤษนาม Heinrich Debus (1824-1915) โดยทำปฏิกิริยาเอทานอลกับกรดไนตริก โดยใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา (oxidative) ของเอธิลีนไกลคอลในระหว่างที่มีตัวเร่งปฏิกิริยาเงินหรือทองแดง (กระบวนการ Laporte) หรือด้วยการออกซิเดชันในรูปของของเหลวของอะซีตอลดีไฮด์ด้วยกรดไนตริกความจุของแผ่นเหล็กทั่วโลกประมาณ 220,000 ตัน จำเป็น] ซึ่งมีอัตราการผลิตน้อยเนื่องจากความล้นเกินในเอเชีย การผลิตส่วนใหญ่จะกระทำผ่านทางกระบวนการออกซิเดชั่นแบบแก๊ส          และตัวสุดท้ายคือ อะลูมีเนียมซัลเฟตซึ่งเป็นสารส้มชนิดหนึ่ง ซึ่งสารส้มจะใช้แกว่งในบ่อเก็บน้ำเพื่อให้สิ่งสกปรกตกตะกอน สามารถใช้ในการกำจัดกลิ่นตัวโดยเฉพาะใต้วงแขน ดับกลิ่นได้ 100% และนานถึง 24 ชั่วโมง และสามารถใช้กำจัดกลิ่นเท้าได้ ทำให้อาหารกรอบ นิยมใช้กับการดองผักเพื่อให้ผักดองมีความกรอบ ช่วยให้พริกขี้หนูดูสดใส เก็บไว้ได้หลายวัน โดยการนำพริกขี้หนูแช่ในน้ำสารส้มสักพัก แล้วนำมาผึ่งไว้ ก่อนทานก็ควรล้างพริกเสียก่อน ช่วยให้ข้าวเหนียวมีเมล็ดสวย โดยใช้สารส้มแกว่งในน้ำแช่ข้าวเหนียว แล้วแช่ไว้สักครู่ เปลี่ยนน้ำแช่ใหม่ เวลานึ่งแล้วข้าวจะมีเมล็ดสวย สารส้ม เป็นสารประกอบที่ใช้ในอุตสาหกรรมทำสีย้อม เนื่องจากเป็นสารประกอบที่มีไอออนของอะลูมิเนียม สามารถเกิดเป็นสารประกอบเชิงซ้อนกับสูตรโครงสร้างทางเคมีของสีและเส้นใยของพืช ทำให้สีติดเส้นใยได้ดีขึ้น สีจึงเข้มขึ้น ปริมาณอะลูมิเนียมในน้ำให้มีปริมาณที่ปลอดภัยต่อการบริโภค          โครงงานนี้มีประเด็นคำถามอยู่ว่า อัตราส่วนที่เหมาะสมสำหรับสารต่างๆที่ใช้ในการตกแต่งผ้าไหมและผ้าลิกนินเท่าใดจะมีประสิทธิภาพในการเป็นสารหน่วงไฟและทนต่อการยับย่น ถ้าผลการศึกษาสอดคล้องกับประเด็นคำถาม จะเป็นประโยชน์ต่อด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอเป็นอย่างยิ่ง



Read More

การวิเคราะห์สมบัติทางเคมีของมิวซิเลจในเมล็ดของแฟลกซ์ กะเพรา ดราก้อนเฮดและเมล็ดควินซ์

Leave a Comment
การวิเคราะห์สมบัติทางเคมีของมิวซิเลจในเมล็ดของแฟลกซ์ กะเพรา ดราก้อนเฮดและเมล็ดควินซ์
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เมล็ดแฟลกซ์

มิวซิเลจ คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ที่มีความสามารถในการดูดซับน้ำสูง ซึ่งควรถูกพิจารณาใช้ในอุตสาหกรรมไฮโดรคอลลอยด์ เพื่อตรวจสอบความชื้น มวลแห้ง ผลผลิตร้อยละ เถ้าและโปรตีน โดยสกัดมิซิเลจจากการผสมเมล็ดด้วยน้ำกลั่น(1:20 w/v) กวนสารผสม 3 ชั่วโมง ที่อุณหภุมิ 75 องศาเซลเซียส แยกมิวซิเลจด้วยการกรองผ่านผ้าขาวบาง และนำไปสกัดด้วยเอทานอล 96 เปอร์เซ็น 3 ครั้ง แยกตะกอนด้วยเครื่องหมนุเหวี่ยง(6500 รอบ/นาที,15นาที) นำไปวิเคราะห์ข้อมูลด้วย one-way ANOVA และ Turkey test เพื่อเปรียบเทียบ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 พบว่า มิวซิเลของเมล็ดแฟลกซ์ มีความชื้น 4.38% ผลร้อยละแห้ง 95.14% ผลผลิตร้อยละ8.6% เถ้า5.8% โปรตีน12.3% มิวซิเลจของกระเพรา มีความชื้น 4.86% ผลร้อยละแห้ง 95.14% ผลผลิตร้อยละ2.07% เถ้า0.84% โปรตีน10.9% มิวซิเลจของดราก้อนเฮด มีความชื้น 4.93% ผลร้อยละแห้ง 95.06% ผลผลิตร้อยละ1.88% เถ้า0.28% โปรตีน45.7% มิวซิเลจของมะตูม มีความชื้น 4.38% ผลร้อยละแห้ง 95.62% ผลผลิตร้อยละ10.9% เถ้า8.24% โปรตีน20.9% ผลการวิเคราะห์พบว่าผลร้อยละมิวซิเลจของเมล็ดแฟลกซ์



Read More

การพัฒนา Mobile Application เกี่ยวกับ การออกกำลังกาย และโภชนาการ

Leave a Comment
การพัฒนา Mobile Application เกี่ยวกับ การออกกำลังกาย และโภชนาการ
 à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ healthy food
ร่างกายของมนุษย์ทุกๆคนต้องการดูแล บำรุง รักษา เพื่อให้ร่างกายสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แต่คนในสังคมปัจจุบัน มีน้อยคนนักที่จะให้ความสำคัญในการดูแลรักษาร่างกายของตน ให้ตนมีสุขภาพที่ดี การดูแลรักษาร่างกายของตนอย่างสม่ำเสมอนั้น นอกจากจะทำให้มีปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ต่อ
ทุกด้านในการใช้ชีวิตของมนุษย์ เทคโนโลยีกลายเป็นสิ่งที่คนส่วนมากเข้าถึงได้ และสะดวกต่อการใช้งาน เป็นสิ่งที่ใกล้ตัวคนส่วนใหญ่ เกิดการเปิดโลกกว้างขึ้น เช่น การใช้โทรศัพท์มือถือ(Mobile) หรือสมาร์ทโฟน ในการสื่อสารกับผู้คนทั่วโลก และยังสามารถใช้ในการสืบค้นหาข้อมูลต่างๆ ซึ่งในสมาร์ทโฟนนั้นมีสิ่งหนึ่งที่สร้างมาเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตในด้านต่างๆ คือ แอพพลิเคชั่น(Application) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้เพื่อช่วยการทำงานของผู้ใช้ เรียกว่า Mobile Application ทำให้เราสามารถใช้งานด้านต่างๆของเทคโนโลยีได้อย่างเป็นระบบ และสะดวกมากขึ้น
สุขภาพที่ดีแล้ว ยังจะส่งผลให้อย่างอื่นตามมาด้วย การดูแลรักษาสุขภาพนั้นจะทำให้ร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่าย ร่างกายสามารถใช้งานได้อย่างเต็มที่ มีคำกล่าวไว้ว่า ”ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ ” หมายความว่า การไม่มีโรคภัยนั้น เป็นความสุขของชีวิต ดังนั้นเราควรใส่ใจกับการดูแลรักษาสุขภาพ เพื่อให้ชีวิตมีความสุข
การดูแลรักษาสุขภาพของมนุษย์นั้นมีหลายประการ การออกกำลังกายเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของการดูแลรักษาสุขภาพ แต่คนที่ทำงานและมีภาระงานต้องรับผิดชอบนั้น ทำให้มีเวลาในการออกกำลังกายน้อยหรือไม่มีเวลาฝึกซ้อมกีฬาต่างๆ ทำให้ปัจจุบัน การออกกำลังกายที่เป็นที่นิยมกันมาก คือการออกกำลังกล้ามเนื้อ และการบริหารกล้ามเนื้ออย่างง่าย หรือคือการเข้า Fitness ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับออกกำลังกาย มีเครื่องสำหรับช่วยในการออกกำลังกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นกระแสที่เป็นที่นิยมในกลุ่มคนที่มีภาระงาน หรือมีเวลาในการออกกำลังกายน้อย และการออกกำลังกายแบบ Fitness นี้ยังง่ายต่อการฝึก ทำให้ผู้เล่นมีรูปร่างที่สวยงาม แข็งแรง ซึ่งเป็นเหตุจูงใจหนึ่งที่ทำให้คนอยากออกกำลังกาย

อีกประการหนึ่งที่สำคัญในการดูแลสุขภาพนั้น คือการบริโภคอาหาร หรือโภชนาการ ตลอดช่วงอายุขัยของคนเราจะรับประทานอาหารประมาณ 70,000 มื้อ หรือ 60 ตัน ซึ่งปริมาณอาหารเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อร่างกายของผู้บริโภค คนเราจึงควรใส่ใจกับการบริโภคอาหารในทุกๆมื้อ เพื่อจะนำมาซึ่งร่างกายและจิตใจที่แข็งแรงอย่างสมบูรณ์ ซึ่งอาจมีบางคนที่ไม่รู้ว่าจะออกกำลังกายอย่างไรให้ถูกต้อง บริโภคอย่างไรให้เหมาะสม หรือขาดข้อมูลในการออกกำลังกายและการบริโภคอาหาร ทำให้ไม่เกิดประสิทธิภาพในการดูแลรักษาสุขภาพของตน
ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของการออกกำลังกาย การมีโภชนาการที่ดี ความสะดวกใช้งานของเทคโนโลยีในเรื่องของ Mobile Application คณะผู้จัดทำจึงคิดค้นโครงงานคอมพิวเตอร์ เกี่ยวกับ Fitness And Nutrition ขึ้นเพื่อเป็นตัวช่วยให้กับผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพในเรื่องของการออกกำลังกายและการมีโภชนาการที่ดี ให้มีการออกกำลังกายที่มีประสิทธิภาพ มีโภชนาการที่ดี และมีสุขภาพที่ดี


Read More

กระบอกน้ำอเนกประสงค์

Leave a Comment
กระบอกน้ำอเนกประสงค์
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ bottle

ในปัจจบุันมผีู้ป่วยที่ต้องรบัประทานยาเป็นจ้านวนมาก ไม่ว่าจะเป็นยาเม็ด ยาน้ำ หรือยาในรูปแบบผง และปญัหาทพี่บบ่อยครั้งคือผู้ปวยส่วนใหญล่ืมรับประทานยาบ่อยครั้ง เหตผุลส่วนใหญม่ักจะเป็นการลืมพกยา ติดตัวมาด้วย ซึ่งการรบัประทานยาอย่างไม่ต่อเนื่องอาจส่งผลได้เกิดอาการดื้อยาได้ ผู้จัดทำาจึงประดิษฐ์ชิ้นงาน ที่ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถพกพาน้ำและยาได้ในภาชนะเดียวกัน และลดปญัหาการรับประทานยาอย่างไม่ต่อเนื่อง


Read More