วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2561

การศึกษาการผลิตผ้าด้วยเส้นใยจากใบอ้อยผสมเส้นใยฝ้ายเคลือบนาโนซิงค์ออกไซด์

Leave a Comment

การศึกษาการผลิตผ้าด้วยเส้นใยจากใบอ้อยผสมเส้นใยฝ้ายเคลือบนาโนซิงค์

ออกไซด์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ใบอ่อย

       ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจการค้ามั่นคงกับประเทศค้าขายมากมายแน่นอนว่ามีโรงงานอุตสาหกรรมในแต่ละภูมิประเทศเพื่อการผลิตแปรรูปและการขนส่งโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร เป็นโรงเรียนที่ใกล้บริเวณโรงงานอุตสาหกรรมด้านการผลิตน้ำตาลจากอ้อยทุกๆครั้งในขั้นตอนการผลิตจะไม่ได้ใช้ส่วนของใบอ้อยมาใช้ผลิตน้ำตาลและนำไปเผาทิ้งก่อให้เกิดมลภาวะทางอากาศรอบๆบริเวณแหล่งเผาใบอ้อยสังคมรอบข้างได้รับความเดือดร้อนดังนั้นทางคณะผู้จัดทำจึงหาแนวทางแก้ไขปัญหานี้ด้วยการใช้ใบอ้อยให้เกิดประโยชน์แทนการกำจัดทิ้ง โดยทำการศึกษา 1) ศึกษาระยะเวลาที่เหมาะสมในการสกัดเส้นใยจากใบอ้อย 2) เปรียบเทียบคุณสมบัติเชิงกลของเส้นใยและเส้นด้าย 3) ศึกษาความเข้มข้นของสารยึดติดที่มีผลต่อการยึดติดของสารนาโนในผ้า  และ 4) ศึกษาความสามารถในการต้านแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ของผ้าที่เคลือบสารนาโนและผ้าปกติ พบว่าเส้นใยจากใบอ้อยสามารถสกัดได้ดีเมื่อแช่ด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์เป็นระยะเวลา 8 ชั่วโมงโดยมีความเข้มข้น 10% w/w สังเกตจากลักษณะตามความเหมาะสมและการใช้งานในขั้นตอนต่อไป ผลจากการเปรียบเทียบเส้นใยจากใบอ้อยและเส้นด้ายพบว่า มีค่าความแข็งแรงสำหรับเส้นใยเดี่ยวเป็น 76 และ 82 ตามลำดับ สำหรับเส้นใยกลุ่มมีค่าเป็น 83 และ 88 ตามลำดับโดยใช้เครื่อง Single Fiber Strength Tester และ Pressley fiber bundles strength tester ส่วนจากการศึกษาการยึดติดของสารนาโนซิงค์ออกไซต์กับผ้าโดยใช้โพลิอะคริลิกที่มีความเข้มข้น 1.0%w/vจะทำให้มีประสิทธิภาพการยึดติดมากที่สุด และจากการศึกษาการต้านแบคทีเรีย Staphylococcus aureus โดยใช้สารนาโนพบว่าสามารถต้านการเจริญเติบโตในระดับการเจือจาง 10-5 ซึ่งแสดงถึงความสามารถการยับยั้งของสารนาโนได้จริง



>>คลิ๊กเพื่อดาวน์โหลด<<

If You Enjoyed This, Take 5 Seconds To Share It

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น