วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2561

การทดสอบประสิทธิภาพของหนังฟอกสีหลังเคลือบด้วยคาร์บอกซิเมทิลเซลลูโลส

Leave a Comment
การทดสอบประสิทธิภาพของหนังฟอกสีหลังเคลือบด้วยคาร์บอกซิเมทิล

เซลลูโลส


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส

อุตสาหกรรมเครื่องหนังของไทยมีการพัฒนามานานกว่า 70 ปี โดยการพัฒนาจากการเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนเน้นการใช้แรงงานจำนวนมากในการผลิตมาเป็นการผลิตแบบโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการนำเครื่องจักรและเทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่มาใช้ ตลอดจนมีการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตอยู่เสมอในการนำหนังฟอกเข้าสู่กระบวนการผลิตเครื่องหนังนั้น ช่างหนังต้องทำการเตรียมท้องหนังก่อน เพื่อทำความสะอาดหนัง ลดตำหนิ ทำให้หนังตึง เพราะโดยธรรมชาติของหนังมักมีการบวมย่น การเตรียมหนังจะทำให้หนังเป็นแผ่นเรียบพร้อมใช้งาน เพื่อทำให้หนังเรียบ ไม่เป็นขุย และทำให้หนังมีสภาพคงทนโดยใช้คาร์บอกซิเมทิลเซลลูโลสหรือซีเอ็มซี (carboxymethylcellulose,CMC) ซึ่งเป็นสารที่มีคุณสมบัติเป็นสารคงสภาพ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่เป็นอันตราย เป็นตัวเคลือบท้องหนัง ทางผู้จัดทำเห็นว่าไม่มีงานวิจัยรองรับว่าการเคลือบท้องหนังด้วย CMC จะมีประสิทธิภาพอย่างไรเมื่อนำไปใช้งาน ด้วยเหตุนี้ผู้จัดทำจึงนำหนังฟอกสีที่เคลือบด้วย CMC ไปทดสอบความเรียบของหนังฟอกสีและทดสอบประสิทธิภาพการยึดเกาะของคาร์บอกซิเมทิลเซลลูโลส(CMC) ที่เคลือบหนังฟอกสี เมื่อนำไปแช่ในน้ำกลั่นที่อุณหภูมิห้อง, สารละลายกรด HCl, สารละลาย NaCl และสารละลาย NaOH พบว่า CMC มีค่าดูดกลืนแสงสูงสุดที่ความยาวคลื่น 195 nm เมื่อนำของเหลวที่ผ่านการแช่หนังไปวัดค่าความเข้มข้นของ CMC จะได้ว่าในสารละลายกรด HCl, สารละลาย NaOH, สารละลาย NaCl และน้ำอุณหภูมิห้อง มี CMC เข้มข้น 0.166, 0.087, 0.008 และ 0.087 mg/L ตามลำดับ 


>>บท1-5<< >>บทคัดย่อ<<




If You Enjoyed This, Take 5 Seconds To Share It

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น