วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2561

การศึกษาประสิทธิภาพของผ้าฝ้ายเคลือบยางพารา

Leave a Comment

การศึกษาประสิทธิภาพของผ้าฝ้ายเคลือบยางพารา

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ผ้าฝ้าย

โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของผ้าฝ้ายเคลือบยางพารา ด้วยการนำยางพารามา เพิ่มคุณสมบัติที่หลากหลายอาทิเช่น การกันน้ำ ความยืดหยุ่น และความทนต่อสภาวะกรดเบส  เพื่อให้ผ้าฝ้าย สามารถนำมาใช้งานได้หลากหลายยิ่งขึ้น
          ในการเคลือบผ้าฝ้ายด้วยการศึกษาผลของระยะเวลาที่ใช้ในการเคลือบผ้าฝ้ายด้วยน้ำยางพารา พบว่า เมื่อเคลือบผ้าฝ้ายด้วยยางพารานั้นมีความหนาเพิ่มมากขึ้นจากเดิม ซึ่งระยะเวลา 5 นาทีนั้นผ้ามีความหนา 0.654 mm ซึ่งเป็นความหนาที่เหมาะสมผู้จัดทำได้นำเลือกระยะเวลาที่5นาทีมาทำการเคลือบผ้าฝ้ายแล้วนำมาศึกษาประสิทธิภาพของสารละลายและความเข้มข้นที่มีผลต่อการแข็งตัวของยางพารา โดยสารละลายที่ผู้จัดทำเลือกได้แก่ สารละลาย HCl, CH3COOH, Ethanol, NaOH, และ Glycerol โดยสังเกตสมบัติของผ้าฝ้ายเคลือบยางพารา ได้แก่ การแข็งตัว มีกลิ่น และการเกิดรา ซึ่งพบว่า HCl 0.1 M ดีที่สุด  ศึกษาสารละลาย HCl 0.1 M + Glycerol และ CH3COOH 0.1M + Glycerol ชนิดใดเหมาะสมกว่ากัน ซึ่งพบว่าการนำผ้าฝ้ายเคลือบยางพารามาแช่ HCl 0.1 M + Glycerol ทำให้ผ้าฝ้ายเคลือบยางพารามีลักษณะความเป็นกาวที่น้อยลง ไม่มีกลิ่นและไม่เกิดรา สุดท้ายผู้จัดทำได้นำมาทดสอบประสิทธิภาพของผ้าฝ้ายเคลือบยางพารา สรุปผลการทดลองได้ว่า ด้านการทดสอบความแข็งแรงนั้นพบว่า ผ้าฝ้ายเคลือบยางพาราจะมีแรงต้านมากกว่าผ้าฝ้ายปกติทำให้ ด้านทดสอบการดูดซับน้ำ พบว่าระยะทางการเคลื่อนที่ของน้ำ/เวลา ของผ้าฝ้ายที่เคลือบยางพารานั้นมีค่าน้อยกว่าผ้าฝ้ายปกติ ด้านการทดสอบความร้อนพบว่า ช่วงแรกอุณหภูมิช่วงต้นจะไม่มีผลต่อความความขุ่นของน้ำแต่เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นถึง 100 จะทำให้มีความขุ่นเพิ่มมากขึ้น ด้านการทดสอบความเป็นกรดเบส พบว่าที่สภาวะความเป็นกรดไม่มีผลต่อการละลายของยางพารา  ซึ่งในสภาะวะที่เป็นเบส ยิ่งค่า pH เพิ่มมากขึ้นการละลายของน้ำยางพาราก็จะออกจากผ้ามากขึ้น โดยเริ่มต้นที่ pH เท่ากับ 9 และจะเพิ่มมากขึ้นไปเรื่อยๆ



>>คลิีกเพื่อดาวน์โหลด<<




If You Enjoyed This, Take 5 Seconds To Share It

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น