วันเสาร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ผลของเสียงต่อการเจริญเติบโตของพืช

Leave a Comment
 ผลของเสียงต่อการเจริญเติบโตของพืช 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เสียง

ปัจจุบันมีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบของเสียงต่ออัตราการเจริญเติบโตของพืชจำนวนน้อยมาก ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมหลายอย่างมีผลต่อพฤติกรรมการแสดงออกของพืชโดยนักวิจัยได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับผลของเสียงที่มีต่อสรีรวิทยาและพฤติกรรมต่างๆของสัตว์และมนุษย์แต่อย่างไรก็ตามยังมีข้อจ ากัดในเรื่องของข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับเสียงที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืชบทความเรื่อง "ผลของเสียงที่รบกวนการเจริญเติบโตของพืช"ได้กระตุ้นความสนใจในการทำการวิจัยซึ่งในครั้งนี้ผู้เขียน A.E. Lord ได้ทำการสุ่มเสียงในพืชสกุล Coleus ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มที่ทดลองด้วยการสุ่มเสียงและน ามาเป็นตัวควบคุมข้อสรุปที่ได้คือนักพฤกษศาสตร์ยังไม่ได้ดำเนินการทดลองอย่างสมบูรณ์ที่จะสามารถแสดงสาเหตุที่อยู่เบื้องหลังผลกระทบที่เขาสังเกตและเขามีความคิดเห็นว่าอัตราการคายน้ำของพืชได้รับผลกระทบจากเสียงซึ่งส่งผลต่อการเจริญเติบโตโครงสร้างทั่วไปของใบและหัวข้อของการคายน้ำสามารถพบได้ในตำราเกี่ยวกับพฤกษศาสตร์จากข้อมูลพบว่าเพลงช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตได้แต่ไม่ทราบความถี่ที่เหมาะสมในเพลงที่มีผลต่อการเจริญเติบโตเอกสารงานวิจัยต่างๆมีรายละเอียดน้อยมากเกี่ยวกับปัจจัยทางสภาพแวดล้อมในการปลูกและวิธีการตรวจสอบอัตราการเจริญเติบโตSinghและ Ponniah เป็นผู้บุกเบิกในเรื่องนี้ในแต่ละวันพวกเขาเล่นไวโอลินให้พืชฟังเป็นระยะๆและบางครั้งพวกเขาใช้ส้อมเป็นแหล่งกำเนิดเสียงที่ผ่านมามีน้อยมากที่ทำการทดลองหรือวิเคราะห์ผลแล้วแสดงผลให้เห็น โดยทั่วไปตารางของผลที่ถูกนำเสนอค่อนข้างที่จะไม่มีข้อมูลที่แสดงถึงผลที่จะได้รับว่าเป็นอย่างไร การท างานของ Singh เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในบทความเดิม ของ A.E. Lord แต่ก็มีข้อมูลที่แปลกใหม่น้อยมากที่ได้รับจากบทความนี้ หนึ่งในบทความที่น่าศึกษาเกี่ยวกับเสียงของพืช ปรากฏขึ้นในปี1993จากนิตยสารชื่อดังเล่มหนึ่งในหัวข้อ“การเจริญเติบโตของข้าวโพดจากเสียงเพลง”ในบทความแสดงให้เห็นว่า "เพลง" ส่งผลให้พืชเจริญเติบโตได้เร็วขึ้น เป็นสีเขียว ล าต้นหนา และแข็งแรงกว่าพืชที่อยู่ในความเงียบแม้ว่าผลที่ได้นั้นมีความน่าสนใจแต่บทความนี้ยังไม่มีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์มารองรับ  อีกบทความหนึ่งที่น่าสนใจได้จากอินเทอร์เน็ต เขียนโดย Bruce M. Pixton เรื่อง"การเจริญเติบโตของพืชในเสียงที่เป็นมลพิษสิ่งแวดล้อม"เขาไม่ได้จำลองในสิ่งแวดล้อมโดยตรงแต่สร้างกล่องโดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม เป็นแถวหน้ากระดานแล้วใส่ดินลงไป ซึ่งมีหนึ่งกลุ่มที่ใช้เป็นชุดเมล็ด พันธุ์ควบคุม และอีกสองกลุ่มให้เสียงที่มีความถี่แตกต่างกัน (เสียงบริสุทธ์และเสียงสุ่ม )โดยใช้ระดับเสียงที่เริ่มได้ยินในการทดลอง เขาใช้เสียง 5,000 Hz และ 13,300 Hz กับเมล็ดอลิสซัมทั้งก่อนและหลังการงอกเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนเมล็ดที่งอกและการงอกพบว่าเพิ่มขึ้นเป็น2เซนติเมตรหรือสูงกว่ากลุ่มควบคุมของเมล็ดทั้งหมด ภายใต้สภาวะแวดล้อมที่คล้ายคลึงกันคือสภาพห้องและแสงที่ได้รับจากหน้าต่างเขาสรุปผลเกี่ยวกับเสียงว่าเมื่อมีความถี่สูงโทนเสียงเพิ่มขึ้นแล้วอัตราการงอกและการเจริญเติบโตของพืชเพิ่มขึ้น โดยเสียงสุ่มมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงซึ่งเขาไม่ได้ให้เหตุผลไว้สำหรับเรื่องนี้บทความอื่นๆที่มีความเกี่ยวข้องกับงานวิจัยนี้ เช่นผลกระทบของเสียงสุ่มในต้นยาสูบซึ่งWoodlief, Roysier และ Huangไม่ได้ใช้กลุ่มควบคุมเป็นเทคนิคการกำหนดอัตราการเจริญเติบโตสำหรับต้นยาสูบ มันท าให้ความชันเส้นโค้งของอัตราการเจริญเติบโตลดลงและสรุปคือเสียงที่ได้จากการสุ่มในสภาพแวดล้อมส่งผลเสียต่ออัตราการเจริญเติบโตของพืชโดยอ้างอิงจากบทความที่กล่าวว่า“การตอบสนองของพืชต่อเสียงจากสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์กับพืชขนาดเล็กโดยพืชขนาดเล็กมีการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า”ดังนั้นจึงได้มีการทำการวิจัยในครั้งนี้ขึ้นเพื่อศึกษาความยาวคลื่นของเสียงที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโตของต้นถั่วและต้นเทียนโดยมีแนวคิดของA.E.Lordซึ่งอธิบายว่าเสียงมีผลต่ออัตราการคายน้ำของพืช เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับทำการวิเคราะห์ในงานวิจัยครั้งนี้ 


If You Enjoyed This, Take 5 Seconds To Share It

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น