วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ศึกษาการงอกและการตอบสนองการเจริญเติบโตของ เทียนเกล็ดหอย (Plantago ovata Forsk) โดยไคโตซานและความเค็ม

Leave a Comment
ศึกษาการงอกและการตอบสนองการเจริญเติบโตของ เทียนเกล็ดหอย

(Plantago ovata Forsk) โดยไคโตซานและความเค็ม


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เทียนเกล็ดหอย

เพื่อศึกษาผลของไคโตซานและความเค็มต่อการงอกและการเจริญเติบโตของ Isabgol (Plantago ovata Forsk) ซึ่งได้ทำการทดลอง2การทดลองในการทดสอบครั้งแรกแช่เมล็ดในระดับความเข้มข้นของไคโตซานที่แตกต่างกันคือ 0, 0.01%, 0.05%, 0.1%, 0.2% และ 0.5% ไคโตซานสามารถเพิ่มร้อยละการงอก และอัตราการเพิ่มขึ้นของน้ำหนัก ความยาวของต้นและราก ผลของความเข้มข้นของไคโตซานที่ 0.2% แสดงให้เห็นว่าร้อยละการงอกและการเจริญเติบโตมากที่สุดเมื่อเทียบกับความเข้มข้นที่แตกต่างกัน ในการทดลองที่2 ได้เพาะเมล็ดที่ความเค็ม4 ระดับ คือ 0, 4, 8 และ 12 dS / m และใช้ความเข้มข้นของไคโตซานที่แตกต่างกันคือ 0, 0.2% การเพิ่มขึ้นของระดับความเค็มทำให้ร้อยละการงอกและอัตราการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักและความยาวของต้นและรากลดลงอย่างไรก็ตามอัตราการเพิ่มขึ้นของน้ำหนัก ความยาวของต้นและรากเพิ่มขึ้นในสภาพความเค็มที่มีไคโตซานรวมอยู่ด้วย ดังนั้นไคโตซานส่งผลให้เมล็ดสามารถทนต่อสภาพความเค็มได้





Read More

ศักยภาพการพัฒนาการให้สี ความเป็นไปได้ในการเพิ่มขึ้นของสารสีแดง และความสามารถในการเกิดปฏิกิริยาของเอนไซม์ในแอปเปิลที่เพาะปลูกเพื่อการพาณิชย์และรุ่นลูก (F1)

Leave a Comment
ศักยภาพการพัฒนาการให้สี ความเป็นไปได้ในการเพิ่มขึ้นของสารสีแดง และความสามารถในการเกิดปฏิกิริยาของเอนไซม์ในแอปเปิลที่เพาะปลูกเพื่อการพาณิชย์และรุ่นลูก (F1)
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แอปเปิ้ล

การควบคุมการผสมพันธุ์ของการปลูกแอปเปิลเพื่อการพาณิชย์ได้มีขึ้นในปี 1973-1979 และได้มีการพัฒนาการใช้สีในผลไม้ในรุ่น F1 ในช่วงปี 1989-1992 ส่วนการวิเคราะห์ทางด้านเคมีของรุ่น F1 มีขึ้นในปี 1993 การผสมข้ามสายพันธุ์ของผลไม้สีแดงทำให้เกิดรุ่นลูกที่มีสีน้อยกว่า ในขณะเดียวกันการผสมพันธุ์ของรุ่นที่ไม่มีสีแดงมีความถี่ของการเกิดผลสีแดงในรุ่น F1สูง ความเป็นไปได้ในการเพิ่มขึ้นของสีม่วงแดงในการปลูกเพื่อการพาณิชย์และรุ่นลูก F1 ของพืชชนิดนี้ มีความคล้ายคลึงกับ UDPกาแลกโตส นั่นคือ ความสามารถในการเกิดปฏิกิริยา flavonoid-3-o-glycosyltransferase (UFGalt) แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับปฏิกิริยา phenylalanine ammonia-lyase (PAL) และ chalcone synthase (CS) เมื่อผลผลิตล่าช้าออกไปและมีความเข้มของแสงที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้รุ่นสีเขียว (‘Indo’ and ‘White Winter Pearmain’) และรุ่นสีเหลือง (‘Golden Delicious’ and Guoshuai’) มีสีม่วงแดงมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเป็นผลทำให้ผลไม้เป็นสีแดงอันเนื่องด้วยปฏิกิริยา UFGalt บนพื้นผิวของผลไม้ ส่วนในพืชรุ่น F1 ที่มีแถบสี พบว่ามีบริเวณที่เป็นสีม่วงแดงอันเนื่องมาจากปฏิกิริยา UFGalt ที่มากกว่าบริเวณข้างเคียงในผลไม้ลูกเดียวกัน ทั้งหมดนี้ การเพิ่มขึ้นของการเกิดสีม่วงแดงและปฏิกิริยา UFGalt นั้น มีความใกล้เคียงกันระหว่างรุ่นพ่อแม่และรุ่นลูกมาก

(r2=0.87,p=0.0001)  อย่างไรก็ตาม โดยเปรียบเทียบแล้ว การเกิดปฏิกิริยาที่สูงนั้นได้รับการตรวจสอบใน
ผิวของผลที่ไม่มีสีแดงและในผิวของผลไม้ที่ไม่มีพัฒนาการของสีแดงเช่นเดียวกัน    จากผลวิจัยที่ได้ชี้ให้เห็น
ว่าปฏิกิริยา UFGalt เป็นเอนไซม์หลักอย่างหนึ่งในการควบคุมการเกิดการสังเคราะห์สีม่วงแดงในช่วงการ
เจริญเติบโตของผล ในขณะที่ปฏิกิริยา PAL และ CS นั้นไม่ได้เป็นตัวควบคุมแต่อย่างใด





Read More

ลักษณะของเส้นใยจากชานอ้อย

Leave a Comment
ลักษณะของเส้นใยจากชานอ้อย

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เส้นใยชานอ้อย

       เมื่อวิเคราะห์ลักษณะของเส้นใยที่ได้จากการสกัดชานอ้อย โดยใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์ 0.1 N เส้นใยที่ได้เป็นผลึกขนาดปานกลาง ที่มีค่าดัชนีผลึกในช่วง 63-68% เมื่อถ่ายภาพจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดแสดงให้เห็นว่าเส้นใยประกอบด้วยการเรียงตัวกันของกลุ่มเซลล์ที่อยู่รวมตัวกันเป็นมัดๆ และมีสารห่อหุ้มที่ทำให้มันประสานเป็นเนื้อเดียวกัน ลักษณะภายนอกของกลุ่มเซลล์ที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มนั้น เป็นองค์ประกอบหลักของผนังเซลล์พาเรงไคม่า  เส้นใยมีความละเอียดอยู่ระหว่าง 25 tex และ 35 tex ความสามารถในการดูดความชื้นของเส้นใยอยู่ระหว่าง 13% และ 18% ค่าความแข็งแรงของเส้นใย อยู่ระหว่าง 12 g/tex และ 18 g/tex cและมีค่าเปอร์เซ็นต์ความยืดอยู่ระหว่าง 2.5% และ 3.5% ค่าการคืนตัวจากแรงยืด เท่ากับ 50% ของแรงยืด ณ จุดขาด  ความแข็งเกร็งต่อการบิดของเส้นใยมีค่าสูง อยู่ระหว่าง 95 dyne-cm² และ 330 dyne-cm² แสดงให้เห็นว่า เส้นใยมีการบิดเป็นเกลียวสูงและไม่เหมาะที่จะนำมาทำเส้นใยที่ใช้ถักทอ  ความแข็งเชิงดัดของเส้นใยค่อนข้างต่ำอยู่ในช่วง 0.015 g cm2 ถึง 0.032 g



Read More

ผลกระทบจากการช่วยเหลือทางจิตวิทยาเกี่ยวกับการฟื้นฟูร่างกายจากโรคหัวใจและการผ่าตัด

Leave a Comment
ผลกระทบจากการช่วยเหลือทางจิตวิทยาเกี่ยวกับการฟื้นฟูร่างกายจากโรคหัวใจและการผ่าตัด
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โรคหัวใจ

 การตรวจสอบเชิงปริมาณของการศึกษาแสดงให้เห็นวา่โดยเฉลี่ยผู้ป่วยผ่าตัดและโรคหัวใจที่มีการช่วยเหลือและเยียวยาทางจิตใจจะ ฟื้นฟูร่างกายได้เร็วกว่าผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแบบทวั่ไปโดยเฉลี่ยแล้วผู้ป่วยจะใช้เวลาประมาณ 13 วัน ในการพักฟื้นที่โรงพยาบาล ตัวชี้วัดแสดงให้เห็นว่าการช่าวเหลือทางจิตใจสามารถลดจ านวน วันที่พักในโรงพยาบาลลงมาเหลือโดยเฉลี่ยที่ 9.92 วันแต่ส่วนใหญ่ แล้วผู้ป่วยยังไม่ให้ความร่วมมือมากเท่าที่ควรนักและแต่ละคนก็มี รูปแบบการรักษาที่แตกต่างกันไปแต่การรักษาทางจิตวิทยาก็สามารถทำให้ผู้ปว่ยฟื้นฟูร่างกายและกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้เร็วอย่างเห็นชัด 


Read More

ปัจจัยที่มีผลต่อระยะเวลาในการสั่นของใบพืชช้อยนางรำที่เกิดจากแสง

Leave a Comment
ปัจจัยที่มีผลต่อระยะเวลาในการสั่นของใบพืชช้อยนางรำที่เกิดจากแสง 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ช้อยนางรำ

    การเคลื่อนไหวของใบช้อยนางรำต่อการเร้าแสงของแสงสีฟ้าและแสงสีขาว ผลการทดลองที่ได้คือการลดลงของแอมพลิจูดจาก คลื่นการเคลื่อนไหวของใบช้อยนางรำและระยะเวลาที่สั้นลงซึ่งพบได้ จากการสังเกต  และการสั่นของใบช้อยนางรำจะกลับสู่สภาพเดิม หลังจากสั่นได้ไม่กี่รอบหลังจากที่ไม่ได้รับการกระตุ้นจากแสงและหยุดสั่นรวดเร็วเมื่อใบช้อยนางรำได้สัมผัสกับความเข้มแสงที่สูงมากแต่อย่างไรก็ตามผลการทดลองพบว่าแสงสีฟ้ามีประสิทธภิาพ มากกว่าแสงสีขาวต่อการสั่นของใบช้อยนางรำ ผู้วิจัยจึงต้องการการ ตรวจสอบสิ่งเร้าอื่นๆจากแสงที่สามารถมองเห็นได้ซึ่งมีผลต่อการสั่นของใบช้อยนางรำ


Read More

ประสิทธิภาพการทำงานของสายพันธุ์พืชน้ำสำหรับการบำบัดน้ำที่ปนเปื้อนสารหนู

Leave a Comment
ประสิทธิภาพการทำงานของสายพันธุ์พืชน้ำสำหรับการบำบัดน้ำที่ปนเปื้อนสารหนู
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สารหนูในน้ํา

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาประสิทธิผลของ macrophyt และ microphyte สำหรับบำบัดแหล่งน้ำที่ปนเปื้อนสารหนูที่มีความเข้มข้นสูง คือ ผักตบชวา (Eichhornia crassipes) และสาหร่ายสองชนิดคือ สาหร่ายปุยเขียว Chlorodesmis Sp. และ สาหร่ายไก Cladophora Sp. ที่อยู่ใกล้สาร(arsenic-enriched)ในแหล่งน้ำ ถูกนำมาใช้ในกาตรวจสอบความทนทานที่มีต่อสารหนูและประสิทธิผลในการดูดซึมสารหนู ซึ่งจะช่วยลดมลพิษอินทรีย์ในสาร(arsenic-enriched)ที่มีระดับความเข้มข้นที่แตกต่างกันในน้ำเสีย ปัจจัยที่กำหนด เช่น ค่า pH ความต้องการออกซิเจนทางเคมี (COD) และความเข้มข้นของสารหนูที่ตรวจสอบ ค่าpHของน้ำเสียในระหว่างการบำบัดจะอยู่คงที่ในช่วง 7.3-8.4 ในขณะที่ COD ลดลง 50-65% ในระยะเวลา 15 วัน พบว่าสาหร่ายไก จะอยู่รอดถึงความ


Read More

ประสิทธิภาพการต้านจุลชีพองน้ำมันหอมระเหยกานพลู ที่อยู่ในฟิล์ม LLDPE ใช้สำหรับบรรจุภัณฑ์เนื้อไก่

Leave a Comment

ประสิทธิภาพการต้านจุลชีพของน้ำมันหอมระเหย

ก้านพลู ที่อยู่ในฟิล์ม LLDPE ใช้สำหรับบรรจุภัณฑ์

เนื้อไก่

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ lldpe

LLDPEเป็นฟิล์มที่นิยมใช้ในเชิงพาณิชย์วัสดุบรรจุภัณฑ์ในงานนี้ทำการศึกษาการเคลือบน้ำมันหอมระเหยกานพลู (CLO) บนฟิล์ม LLDPEด้วยวิธีการใช้กรด Chromic acid กัดกร่อนผิวฟิล์มแล้วเคลือบด้วยน้ำมันหอมระเหย โดยทดสอบคุณสมบัติของฟิล์มด้วยเทคนิคFTIR จะแสดงให้เห็นถึงหมู่ฟังก์ชั่นที่มีในน้ำมันหอมระเหยกานพลูจากการทดสอบการส่องผ่านของรังสียูวีและแสงพบว่าการเคลือบน้ำมันหอมระเหยกานพลูจะส่งผลให้ฟิล์มมีลักษณะใสและเป็นสีเหลืองมากขึ้นจากการทดสอบด้วยเทคนิค Differential Scanning Calorimetry (DSC) พบว่าจุดหลอมเหลว(Tm) ของฟิล์มคอมโพสิตลดลงจาก 122 ºC เป็น 117 ºC เมื่อเทียบกับฟิล์มที่ไม่ผ่านการเคลือบด้วยน้ำมันหอมระเหยกานพลูและพบว่าฟิล์มที่เคลือบด้วยน้ำมันหอมระเหยกานพลูสามารถต้านเชื้อSalmonella Typhimurium และ Listeria monocytogenes ที่พบในไก่ได้ 21 วันของการจัดเก็บในตู้เย็นดังนั้นฟิล์มที่พัฒนาแล้วสามารถใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้งานสำหรับไก่สดได้



Read More

การแสดงออกของ ตัวยับยั้งเอนไซม์ย่อยโปรตีนชนิด Kunitz (MjKuPI) ท าให้เห็นถึง ความเกี่ยวข้องของ MjKuPI positive hemocytes ในระบบภูมิคุ้มกันของกุ้ง kuruma Marsupenaeus japonicas

Leave a Comment
การแสดงออกของตัวยับยั้งเอนไซม์ย่อยโปรตีนชนิด Kunitz (MjKuPI)  ทำให้เห็นถึงความเกี่ยวข้องของ MjKuPI positive hemocytes ในระบบภูมิคุ้มกันของกุ้ง kuruma Marsupenaeus japonicas
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ kuruma Marsupenaeus japonicus

ซีรีนโปรตีเอสและตัวยับยั้งเอนไซม์ย่อยโปรตีนมีบทบาทสำคัญ ในกระบวนการทางชีวภาพ ตัวยับยั้งซีรีนโปรตีเอส รวมทั้งตัวยับยั้ง เอนไซม์ย่อยโปรตีน Kunitz มีบทบาทสา คัญไม่เพียงแต่ทั้งใน กระบวนการทางสรีรวิทยา เช่น การแขง็ตัวของเลือดและการละลาย ลิ่มเลือด และยังอยู่ในการตอบสนองภูมคิุ้มกัน ในการศึกษานี้มีการ สนใจ ตัวยับยั้งเอนไซม์ย่อยโปรตีนชนิด Kunitz (MjKuPI) จากกุ้ง Kuruma Marsupenaeus japonicus พบวา่ ม ีMjKuPI ส่วนใหญ่ ในเม็ดเลือด ในการท า immunostaining พบวา่มีเม็ดเลือดที่แสดง (MjKuPI+ hemocytes)  และอื่น ๆ ไม่ได้ได้แสดง (MjKuPI- hemocytes) ท าการทดลองโดยการฉีดเชื้อไวรัส Vibrio penaeicida และเชื้อ white spot syndrome virus (WSSV) เข้า ไปในกุ้ง พบว่า MjKuPI มีการแสดงออกมากขึ้นในระดับ mRNA และ ในการตรวจวิเคราะหจ์ านวนเซลล์พบว่าปริมาณของ MjKuPI+ hemocytes เพิ่มขึ้น อยา่งมีนัยส าคัญ 24 ชั่วโมงหลังฉีด ผลลัพธ์ เหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า MjKuPI และ MjKuPI+ เม็ดเลือด มีบทบาทในการ สร้างระบบภูมิคุ้มกันโดยธรรมชาติของกงุ้ Kuruma




Read More

การศึกษาความสัมพันธ์และสมการที่เกี่ยวข้องกบัหน้าตัดทรงกรวย

Leave a Comment
การศึกษาความสัมพันธ์และสมการที่เกี่ยวข้องกับหน้าตัดทรงกรวย 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาคตัดกรวย

หน้าตัดของทรงกรวยอาจถกูระบุไว้ว่าอยู่บนตำแหน่งที่จุด P ซึ่ง สามารถเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยกู่ับการตัด จุด F ถูกเรียกว่าจุดโฟกัส และเส้น d ที่ถูกก าหนดเอาไว้เรียกว่าเส้นไดเรกติก (Directric) (โดยที่จุด F นั้นไม่อยู่บน เส้นตรง d) และอัตราสว่นของระยะหา่งระหว่างจุด F กับจุด P และระห่าง ระหว่างจุด P กับเส้นตรง d (ที่มีระยะหา่งที่ใกล้ที่สุด หรือตั้งฉากกับเส้นตรง d) ซึ่งอัตราส่วนของค่าทั้งสองนี้จะเรียกว่า Eccentricity หรือ e. ถ้าหาก e = 0, หน้าตัดของทรงกรวยจะมีรูปเป็นวงกลม, ถ้าหากมีค่า 0 < e < 1, หน้าตัดของ ทรงกรวยจะมีรูปเป็นวงรี, ถ้าหากมีค่า e = 1, หน้าตัดของทรงกรวยจะมีรูปเปน็ โพลาโบลา, และถ้าหาก e > 1, หน้าตัดของทรงกรวยจะมีรูปเป็นไฮโพโบลา.


Read More

การศึกษาอิทธิพลการแสดงออกของยีน AtCHX24 ต่อการเปลี่ยนแปลงจ านวนของ Cation/H+ ในการวายของใบของ Arabidopsis thaliana

Leave a Comment
การศึกษาอิทธิพลการแสดงออกของยีน AtCHX24 ต่อการเปลี่ยนแปลงจ านวนของ Cation/H+ ในการวายของใบของ Arabidopsis thaliana 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ AtCHX24

การวายของใบเป็นระยะสุดท้ายของการเจริญเติบโต ซึ่งขึ้นอยู่กับอายุ ปัจจัยด้านอื่นๆ และสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามได้มีการค้นพบยีนที่เกี่ยวข้องมากมายกับการวายของใบพืช แต่กลไกด้านโมเลกุลยังไม่ทราบแน่ชัด ในการทดลองนี้การกระตุ้นยีนพื้นฐานที่บ่งชี้ว่าเป็นตัวยับยั้งที่แยกได้จาก Arabidopsis สามารถยับยั้งการ ท างานของยีน ore9-1 ที่ท าให้ใบพืชวายช้าลง Suppressor1 of ore9 dominant (sor1-D) ซึ่งมีสาเหตุจาก การแสดงออกที่มากเกินของ AtCHX24 ท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ Cation/H+ โดย sor1-D ยับยั้งลักษณะ ปรากฏของ ore9 ในการวายตามอายุ และการได้รับความมืด นอกจากนั้น sor1-D ยังส่งผลต่อ ore1 และ ore3 เช่นกัน ซึ่ง sor1-D มีความไวต่อการการเปลี่ยนแปลงของ pH ในการวายของใบจากการเหนี่ยวน าจาก ความมืด จากผลของ AtCHX24 ที่แสดงออกมากเกินในการวายของใบและจากผลนี้สามารถแนะน าได้ว่า AtCHX24 มีความส าคัญในการควบคุมการวายของใบ




>>คลิ๊กเพื่อดาวน์โหลด<<
Read More

วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากสารชีวมวลโดยกระบวนการหมักด้วยยีสต์

Leave a Comment

การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากสารชีวมวลโดยกระบวนการหมักด้วยยีสต์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กระบวนการหมักด้วยยีสต์
          ไบโอเอทานอล เป็นพลังงานทดแทนและเป็นแหล่งพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผลิตจากสารชีวมวล(เฮมิเซลลูโลส) จากเฟิร์น (pteris) ซึ่งเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและไม่มีมูลค่ามากนักในทางเศรษฐศาสตร์ แต่แหล่งพลังงานจากไบโอเอทานอลที่มาจากเฮมิเซลลูโลส สามารถถูกเปลี่ยนเป็นไปโอเอทานอลได้ ในกระบวนการย่อยสลายของเฮมิเซลลูโลสความเข้มข้นของน้ำตาลและอัตราการเกิดปฏิกิริยาที่สังเกตได้จากพารามิเตอร์ที่แตกต่างกัน เช่น ค่า pH อุณหภูมิ เส้นผ่านศูนย์กลางของสารตั้งต้น และการใส่สารตั้งต้น ในการวิจัยครั้งนี้เราค้นพบว่าค่า pH 7 อุณหภูมิ 35C เส้นผ่านศูนย์กลางของสารตั้งต้นมีค่า 45.63 µm และน้ำหนักของสารตั้งต้นอยู่ที่ 0.25g/100ml. เป็นพารามิเตอร์ที่ดีที่สุด และจากสารที่นำมาทดลองคือ H2SO4 , NH4OH และ NaOH ให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันโดย NH4OH ให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดและทำให้สมบูรณ์โดยแบคทีเรีย pseudomonas sp. ที่ได้จากมูลของโค ในการทดลองหาค่าความเข้มข้น ของน้ำตาลโดย UV spectrophotometers โดยใช้ DNS เป็นสารในการหาค่าความอิ่มตัว พบว่าอยู่ที่ 72 ชั่วโมง ในกระบวนการย่อยสลาย และความเข้มข้นสูงสุดของน้ำตาลอยู่ที่ 1.7625 mg/L ต่อมาเราศึกษากระบวนการหมักโดยใช้ยีสต์ ที่ได้ผลลัพธ์ที่ Bio-ethanol โดยใช้น้ำตาลที่ได้จากการย่อยสลายในสภาวะที่ดีที่สุด พบว่าให้เอทานอลเข้มข้น 0.333 mg/L โดยวัดจาก UV spectrophotometers 






Read More

การบำบัดน้ำเสียจากอุตสาหกรรมยาโดยใช้เทคโนโลยีบำบัดน้ำแบบไร้อากาศ

Leave a Comment

การบำบัดน้ำเสียจากอุตสาหกรรมยาโดยใช้เทคโนโลยีบำบัดน้ำแบบไร้อากาศ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เทคโนโลยีการบําบัดน้ําเสียแบบไร้อากาศ
น้ำเสียที่เกิดจากอุตสาหกรรมยาโดยทั่วไปมีสารอินทรีย์สูงและการรักษาจะดำเนินการโดยใช้หลักสองประเภทหลักของวิธีการทางชีวภาพ; แบบใช้ออกซิเจนและแบบไม่ใช้ออกซิเจน แต่เนื่องจากน้ำเสียจากสารอินทรีย์สูงมันเป็นไปไม่ได้ในการรักษาบางส่วนน้ำเสียจากการผลิตยาโดยใช้กระบวนการทางชีวภาพแบบใช้ออกซิเจน เป็นทางเลือกที่เป็นกระบวนการที่เป็นที่ต้องการใช้ออกซิเจนในการลบความแข็งแรงสูงสารอินทรีย์ ระบบบำบัดน้ำเสียแบบไร้อากาศถือเป็นค่าใช้จ่ายโซลูชั่นที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับการปนเปื้อนอินทรีย์ลำธารของเสียจากอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาระบบอัตราที่สูงซึ่งในครั้งกักเก็บน้ำ (HRT)จะแยกออกจากของแข็งการเก็บรักษาครั้ง (SRT) ได้นำไปสู่การได้รับการยอมรับทั่วโลกของระบบบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้ออกซิเจน ในบทความนี้หนังสือที่เกี่ยวกับการเติมออกซิเจนเทคโนโลยีถังปฏิกรณ์แบบเดิมและบำบัดน้ำเสียยาจะถูกนำเสนอ นอกจากนี้ชะตากรรมของ

ยาในสภาพแวดล้อมยังถูกกล่าวถึงในช่วงสั้น ๆ กรณีศึกษาจากการตรวจสอบในห้องปฏิบัติการในการรักษาของยาน้ำเสียที่มียาปฏิชีวนะ Tylosin ในถังปฏิกรณ์แบบนอกจากนี้ยังได้รับ โดยเฉพาะมันถูกกำหนดไม่ว่าจะเป็นถังปฏิกรณ์แบบสามารถนำมาใช้เป็นรักษาก่อน ระบบที่โรงงานผลิตยาที่มีอยู่ ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องปฏิกรณ์บำบัดน้ำเสียยาจริงในอัตราโหลดต่างๆของสารอินทรีย์ (OLR) ได้รับการตรวจสอบและแสดงให้เห็นว่าการกำจัดสารตั้งต้นที่มีประสิทธิภาพที่ OLRs ต่ำ (0.43-1.86 กก. COD.m-3.d-1) โดยการส่งเสริมความต้องการออกซิเจนทางเคมี
 เงื่อนไขเหล่านี้มีค่าเฉลี่ยของการลด Tylosin 95% ก็ประสบความสำเร็จใน UASR แต่การเพิ่ม OLRs เพื่อ 3.73 กก. COD.m-3.d-1 โดยการลดเวลาในการกักเก็บน้ำ (HRT) (4-2 D) ลดประสิทธิภาพในการกำจัด COD (45%) การเปลี่ยนแปลงในการโหลดอินทรีย์ได้รับผลกระทบประสิทธิภาพการรักษาของถังปฏิกรณ์แบบและใน OLRs สูงก็ไม่สามารถที่จะทนต่อ HRT สั้นอาจเป็นเพราะความซับซ้อนของระบบบำบัดน้ำเสียยา


Read More

การทรานสมิชชัน (Transmission) สู่ดอกของErwinia tracheiphilaโดยด้วงเต่าแตง(cucumber beetle) ในCucurbita pepoป่า

Leave a Comment
การทรานสมิชชัน (Transmission) สู่ดอกของErwinia tracheiphilaโดยด้วงเต่าแตง(cucumber beetle) ในCucurbita pepoป่า
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ erwinia tracheiphila

ด้วงเต่าแดงหรือ Acalymma vittatum (F.) และ Diabrotica undecipunctata howardi (Barber) จัดอยู่ในประเภทสัตว์กินพืชประเภทน้ำเต้า ฟักทอง ซึ่งเป็นแมลงพาหะของ Erwinia tracheiphila (E.F. Smith) ฮอลแลนด์ และเป็นสาเหตุของโรคเหี่ยวเฉา (wilt disease) ด้วงเต่าแดงสามารถถ่ายทอดการติดโรคโดยการกัดกิน E. tracheiphila เป็นอาหาร เราจะแสดงให้เห็นว่า E. tracheiphila ยังมารถถูกถ่ายทอดผ่านทางต่อมน้ำหวานของ Cucurbita pepo ssp. texana L. Andres (Texas gourd) โดยการศึกษาภายใต้เงื่อนไขของพื้นที่นั้นๆ พบว่าระยะแรกด้วงจะรวมตัวที่ดอก พวกมันจะเคี้ยวอับละอองเกสรที่คลุมส่วนของต่อมน้ำหวานของพืชตัวผู้ เมื่อต่อมน้ำหวานเป็นแผลจากการกัดกิน ด้วงจะขับขุย (frass) สะสมไว้บนต่อมน้ำหวาน เราจึงใช้วิธี real-time polymerase chain reaction เพื่อแสดงให้เห็นว่าการขับขุยของด้วงบน E. tracheiphila  ทำให้เกิดการติดเชื้อเมื่อทำการทดลองในเรือนกระจก อีกทั้งยังมีข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่าน้ำเต้าเทคซัสสามารถเกิดโรคผ่านทางต่อมน้ำหวานได้ และในที่สุดเราได้นำสีเรืองแสงฟลูโอเรสเซนส์สีเขียวหรือโปรตีนจีเอสพี (Green Fluorescent Protein (GFP)) มาเพื่อดูการเคลื่อนไหวของแมลงภายใต้ E. tracheiphila  เมื่อเข้าผ่านต่อมน้ำหวานไปยังไปในไซเลม (xylem) ของก้านดอกก่อนจะทำให้เกิดกาโรยของดอก ข้อมูลเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า  E. tracheiphila   สามารถถูกส่งผ่านเชื้อโรคได้จากการขับขุยบริเวณต่อมน้ำหวาน เราได้ตั้งสมมัติฐานว่าความเข้มข้นของการขับขุยของด้วงในต่อมน้ำหวาน ส่งผลให้มีการเพิ่มขึ้นของการสัมผัสโรค และความเข้มข้นของการขับขุยใน E. tracheiphila  มีบทบาทในการเกิดโรคเหี่ยวเฉาในพืชทั้งชนิดของฟักทองป่าและที่ทำการเพาะปลูก



Read More

การตรวจสอบลายนิ้วมือด้วยสูตรต่างๆของเอสพีอาร์บนพื้นผิวที่เปียกไม่ขรุขระ

Leave a Comment

การตรวจสอบลายนิ้วมือด้วยสูตรต่างๆของเอสพีอาร์

บนพื้นผิวที่เปียกไม่ขรุขระ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ fingerprint

ลายนิ้วมือแฝงเป็นชิ้นหลักฐานที่มีคุณค่าที่มักจะพบได้เมื่อมีการอาชญากรรมหลักฐานประเภทนี้จะมองเห็นได้ยาก ดังนั้นจำเป็นต้องใช้เทคนิคที่ประยุกต์เพื่อจะทำให้สามารถมองเห็นได้มากขึ้นนอกจากนี้ ลายนิ้วมือแฝงยังสามารถพบได้ในสภาพแวดล้อมที่เปียกหรือชุ่มชื่นและพื้นผิวที่เปียกเหล่านี้มาจากน้ำหลายแหล่งซึ่งมีความแตกต่างกันมีความเป็นกรด-เบสแตกต่างกันและอนุภาคของสสารแตกต่างกัน  SPR เป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับเทคนิคที่จะตรวจหาลายนิ้วมือในพื้นที่เปียกในการศึกษาเรื่องนี้ กลุ่มตัวอย่างจะถูกทำให้เปียกโดยการแช่ในสารหลายอย่างแทนน้ำที่ได้จากหลายที่ 11สูตรของ SPR จะมี 3 สูตรของ SPR ที่ได้จากการอ้างอิงในเอกสารที่ถูกตีพิมพ์และอีก 8 สูตรเป็นสูตรที่คิดขึ้นมาใหม่ซึ่งได้จากการสำรวจแล้วประเมินว่าเหมาะสมที่สุดสำหรับการตรวจสอบลายนิ้วมือบนพื้นผิวที่เปียก ไม่ขรุขระ คุณภาพที่ดีที่สุดของลายพิมพ์ที่ถูกขยายได้มาจาก SPR ที่มีอยู่ใน molybdenum disulfide ใน terginol NP-7 และ choline chloride อย่างไรก็ตาม บนพื้นผิวที่มีสีเข้มที่เป็นสารแขวนลอย zinc carbonate อนุภาคขนาดเล็กจะได้คุณภาพที่ดีที่สุดในการศึกษานี้การแช่ในสารละลายไม่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพ แม้จะไม่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพ SPR แต่สารละลานยน้ำเกลือมีผลต่อการพิมพ์ลายนิ้วมือ



Read More

วันเสาร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

อินดิเคเตอร์จากเปลือกแก้วมังกร

Leave a Comment
อินดิเคเตอร์จากเปลือกแก้วมังกร
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เปลือกแก้วมังกร

เนื่องจากในชีวิตประจำวันมีการตรวจสอบความเป็นกรด-เบสของสารละลายโดยใช้กระดาษลิตมัสบอกให้ทราบถึงความเป็นกรดหรือด่างแม้กระทั่งในโรงเรียนยังต้องมีการทดลองเกี่ยวกับกรดและเบสของสารชนิดต่างๆของสารในธรรมชาตินั้นก็มีอินดิเคเตอร์หลากหลายอย่างเช่น ดอกอัญชัน ดอกดาวเรือง กระหล่ำปลีสีม่วงรวมไปถึงผลไม้ใกล้ตัวอย่างแก้วมังกรซึ่งถือว่าเป็นผลไม้ท้องถิ่นของประเทศไทยสามารถนำมาใช้เป็นอินดิเคเตอร์ที่มีคุณภาพเพื่อที่จะสามารถใช้อินดิเคเตอร์จากธรรมชาติแทนกระดาษยูนิเวอร์ซัลได้เป็นการลดมลพิษจากสารเคมีที่ใช้สกัดมาทำกระดาษยูนิเวอร์ซัลและเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันถ้าอินดิเคเตอร์จากธรรมชาติตัวนี้สามมารถใช้งานได้ดีข้าพเจ้าและคณะจึงสนใจที่จะทำโครงงานเรื่องการทำอินดิเคเตอร์จากแก้วมังกรขึ้น



Read More

วัฏจักรชีพที่ควบคุมเฉดสีของฟังไจที่สามารถเรืองแสงได้

Leave a Comment
วัฏจักรชีพที่ควบคุมเฉดสีของฟังไจที่สามารถเรืองแสงได้ 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เห็ดกระสือ

 การเรืองแสงของสิ่งมีชีวิตหมายถึงแสงที่สิ่งมีชีวิตนั้นๆปล่อยออกมาผ่านกระบวนการต่างๆโดยความสว่างที่ปล่อยออกมานั้นมาจากหลายกระบวนการหลายสาเหตุจากการศึกษาเราค้นพบฟังไจที่สามารถเรืองแสงได้หลายชนิด ณ เวลานี้ คือ 71 สปีชีส์จากทั้งหมด 9,000 สปีชีส์ในปา่เขตร้อนจากฟังไจที่ค้นพบทั้งหมดประมาณ 100,000 สปีชีส์ในโลก ซึ่งการเรืองแสงในลักษณะนี้ต้องอาศัยออกซิเจนและพลังงานในรูปแบบ NADH หรือ NADPH โดยจากรายงานเราพบว่าค่าความยาวคลื่นที่ปล่อยออกมา จากสิ่งมีชีวิตนั้นมีค่าความยาวคลื่นมากที่สุดคือ 530 nm จากกระบวนการเมทาบอลิซึมโดยศึกษาว่า ช่วงเวลาใดที่แสงถูกปล่อยมามากที่สุดจากการศึกษาจากความสัมพันธ์ความยาวคลื่นและตัวที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาจากนั้นนำมาทดลองล่อแมลงที่ตอบสนองต่อแสงด้วยเห็ดเรืองแสงตั้งเปรียบเทียบกับเห็ด เรืองแสงจริงกับเห็ดที่ประดิษฐ์ขึ้นมาจากซึ่งพบว่าเห็ดจริงมีผลต่อการล่อแมลงจำพวกHemipterans( มวน),Dipterans(แมลงวัน),Hymenopterans(แมลงกัดต่อย และ มด)ที่เข้ามาในกับดักที่เตรียมไว้ มากกว่าเห็ดประดิษฐ์ขึ้นมาจากเรซิ่นซ่ึงช่วงเวลาที่ปล่อยแสงได้ดีที่สุดนั้นจะช่วยแมลงมาจับสปอร์เพื่อขยายพันธุ์ของเห็ด รวมถึงป้องกันอันตรายจากสิ่งมีชีวิตอื่นๆในป่า 




Read More

ฤทธิ์การยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสของสารสกัดหยาบข้าวเหนียวดำและอิทธิพลของการหมักด้วยยีสต์จากภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีผลต่อปริมาณแอนโทไซยานินในข้าวเหนียวดำ

Leave a Comment
ฤทธิ์การยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสของสารสกัด
หยาบข้าวเหนียวดำและอิทธิพลของการหมักด้วย
ยีสต์จากภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีผลต่อปริมาณแอน
โทไซยานินในข้าวเหนียวดำ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ข้าวเหนียวดํา
โครงงานฤทธิ์การยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสของสารสกัดหยาบข้าวเหนียวดำและอิทธิพลของการหมักด้วยยีสต์จากภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีผลต่อปริมาณแอนโทไซยานินในข้าวเหนียวดำมีวัตุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสด้วยสารสกัดจากข้าวเหนียวดำและเพื่อศึกษาผลของการหมักที่มีผลต่อปริมาณแอนโทไซยานินในข้าวเหนียวดำ

จากการศึกษาสารสกัดหยาบข้าวเหนียวดำแบ่งออกเป็นวิธีคือสกัดด้วยเอทานอลและต้มก่อนแล้ว สกัดด้วยเอทานอลและในตอนที่ 2 นำข้าวเหนียวดำไปหมักด้วยลูกแป้งจากภูมิปัญญาชาวบ้าน พบว่าที่สารสกัดด้วยทั้ง 2 วิธีที่ความเข้มข้น 40% เอทานอลสามารถสกัดแอนโทไซยานิน
ได้ความเข้มข้นมากที่สุด ซึ่งสกัดแบบไม่ต้มได้ 139.60 มิลลิกรัม/ลิตร และแบบต้มได้114.72มิลลิกรัม/ลิตรและนำสารสกัดไปยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสพบว่าสารสกัดแบบไม่ต้มที่ความเข้มข้น40%เอทานอลสามารถยับยั้งมากที่สุดคือ78.90%และสารสกัดแบบต้มที่40%เอทานอลเช่นกันที่สามารถยับยั้งได้ดีที่สุดคือ79.38 % เมื่อศึกษาอิทธิพลของการหมักที่มีผลต่อปริมาณแอนโทไซยานินในข้าวเหนียวดำพบว่าในระยะเวลาการหมัก7วันเปรียบเทียบกับ 14 วันพบว่าที่7วัน มีปริมาณแอนโทไซยานินมากกว่า ซึ่งอัตราส่วนข้าวเหนียวดำต่อลูกแป้งที่  25g/0.3g , 25g/0.6g ,และ 25g/0.9g เท่ากับ 7.15 มิลลิกรัม/ลิตร, 7.06 มิลลิกรัม/ลิตร,และ 7.44 มิลลิกรัม/ลิตร ในขณะที่14 วัน มีปริมาณแอนโทไซยานินมากกว่า ซึ่งอัตราส่วนข้าวเหนียวดำต่อลูกแป้งที่  25g/0.3g , 25g/0.6g ,และ25g/0.9เท่ากับ7.15มิลลิกรัม/ลิตร,7.06 มิลลิกรัม/ลิตร,และ 7.44 มิลลิกรัม/ลิตร ตามลำดับจะพบว่าเมื่อเวลาหมักเพิ่มขึ้นจะมีปริมาณแอลกอฮอร์เพิ่มขึ้นและมีผลต่อปริมาณแอนโทไซยานิน


Read More

ไฟโบรอินและเซริซินจากเส้นใยไหมในการกระตุ้นกระบวนการ Cell Migration ด้วยวิธี Upregulation และ Phosphorylation ของยีนสร้างโปรตีน c-jun

Leave a Comment
ไฟโบรอินและเซริซินจากเส้นใยไหมในการกระ

ตุ้นกระบวนการ Cell Migration ด้วยวิธี

Upregulation และ Phosphorylation 

ของยีนสร้างโปรตีน c-jun

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ไฟโบรอินและเซริซิน

การรักษาบาดแผลเป็นกระบวนการทางชีวภาพเพื่อฟื้นฟูเนื้อเยื่อที่ได้รับบาดเจ็บซึ่งขั้นตอนสำคัญของการรักษาบาดแผลคือการสร้างเนื้อเยื่อบุผิวที่จะสามารถเข้ามาแทนที่ผิวหนังชั้นนอกที่เป็นแผลความหลากหลายของผลิตภัณฑ์จากไฟโบรอินและเซริซินที่ได้จากเส้นใยไหมสามารถกระตุ้นการสมานแผล อย่างไรก็ตามเท่าที่ผ่านมาเรื่องนี้ยังไม่สามารถอธิบายได้ในระดับโมเลกุลจุดมุ่งหมายของงานนี้คือการตรวจสอบโมเลกุลพื้นฐานที่มีคุณสมบัติในการรักษาแผลของโปรตีนจากเส้นไหมในรูปแบบเซลล์ โดยได้นำไฟโบรอินและเซริซินไปวิเคราะห์ในการรักษาบาดแผลรอยขีดข่วนสำหรับการทดสอบได้ใช้เซลล์MDA – MB – 231และเซลล์ Mv1Lu โปรตีนทั้งสองจะกระตุ้นเซลล์เสมือนเป็นการนำไฟโบรอินและเซริซินมารักษาบาดแผล เช่น กระบวนการ Upregulation of C – Jun และการสังเคราะห์ด้วยโปรตีน C – Jun นอกจากนี้แล้วไฟโบรอินและเซริซินยังไปกระตุ้นกระบวนการ Phosphorylation ของเอนไซม์ ERK1 และ JNK1/2การทดลองทั้งหมดนี้ต้องการแสดงให้เห็นถึงการกระตุ้นสารยับยั้งการสื่อสารระหว่างเซลล์ ผลที่ได้รับคือ MEK ,JNK และ PI3K ไฟโบรอินและเซริซินถูกนำมาทดสอบในเซลล์ Keratinocyte (HaCaT) ของมนุษย์ ผลลัพธ์ที่แสดงออกมานั้นโมเลกุลของไฟโบรอินและเซริซินเคลื่อนผ่านเซลล์เพื่อไปกระตุ้น MEK , JNK และ PI3K การรับส่งสัญญาณสิ้นสุดลงเมื่อเราทำการกระตุ้น C - JUN



Read More

ผลของเสียงต่อการเจริญเติบโตของพืช

Leave a Comment
 ผลของเสียงต่อการเจริญเติบโตของพืช 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เสียง

ปัจจุบันมีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบของเสียงต่ออัตราการเจริญเติบโตของพืชจำนวนน้อยมาก ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมหลายอย่างมีผลต่อพฤติกรรมการแสดงออกของพืชโดยนักวิจัยได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับผลของเสียงที่มีต่อสรีรวิทยาและพฤติกรรมต่างๆของสัตว์และมนุษย์แต่อย่างไรก็ตามยังมีข้อจ ากัดในเรื่องของข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับเสียงที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืชบทความเรื่อง "ผลของเสียงที่รบกวนการเจริญเติบโตของพืช"ได้กระตุ้นความสนใจในการทำการวิจัยซึ่งในครั้งนี้ผู้เขียน A.E. Lord ได้ทำการสุ่มเสียงในพืชสกุล Coleus ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มที่ทดลองด้วยการสุ่มเสียงและน ามาเป็นตัวควบคุมข้อสรุปที่ได้คือนักพฤกษศาสตร์ยังไม่ได้ดำเนินการทดลองอย่างสมบูรณ์ที่จะสามารถแสดงสาเหตุที่อยู่เบื้องหลังผลกระทบที่เขาสังเกตและเขามีความคิดเห็นว่าอัตราการคายน้ำของพืชได้รับผลกระทบจากเสียงซึ่งส่งผลต่อการเจริญเติบโตโครงสร้างทั่วไปของใบและหัวข้อของการคายน้ำสามารถพบได้ในตำราเกี่ยวกับพฤกษศาสตร์จากข้อมูลพบว่าเพลงช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตได้แต่ไม่ทราบความถี่ที่เหมาะสมในเพลงที่มีผลต่อการเจริญเติบโตเอกสารงานวิจัยต่างๆมีรายละเอียดน้อยมากเกี่ยวกับปัจจัยทางสภาพแวดล้อมในการปลูกและวิธีการตรวจสอบอัตราการเจริญเติบโตSinghและ Ponniah เป็นผู้บุกเบิกในเรื่องนี้ในแต่ละวันพวกเขาเล่นไวโอลินให้พืชฟังเป็นระยะๆและบางครั้งพวกเขาใช้ส้อมเป็นแหล่งกำเนิดเสียงที่ผ่านมามีน้อยมากที่ทำการทดลองหรือวิเคราะห์ผลแล้วแสดงผลให้เห็น โดยทั่วไปตารางของผลที่ถูกนำเสนอค่อนข้างที่จะไม่มีข้อมูลที่แสดงถึงผลที่จะได้รับว่าเป็นอย่างไร การท างานของ Singh เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในบทความเดิม ของ A.E. Lord แต่ก็มีข้อมูลที่แปลกใหม่น้อยมากที่ได้รับจากบทความนี้ หนึ่งในบทความที่น่าศึกษาเกี่ยวกับเสียงของพืช ปรากฏขึ้นในปี1993จากนิตยสารชื่อดังเล่มหนึ่งในหัวข้อ“การเจริญเติบโตของข้าวโพดจากเสียงเพลง”ในบทความแสดงให้เห็นว่า "เพลง" ส่งผลให้พืชเจริญเติบโตได้เร็วขึ้น เป็นสีเขียว ล าต้นหนา และแข็งแรงกว่าพืชที่อยู่ในความเงียบแม้ว่าผลที่ได้นั้นมีความน่าสนใจแต่บทความนี้ยังไม่มีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์มารองรับ  อีกบทความหนึ่งที่น่าสนใจได้จากอินเทอร์เน็ต เขียนโดย Bruce M. Pixton เรื่อง"การเจริญเติบโตของพืชในเสียงที่เป็นมลพิษสิ่งแวดล้อม"เขาไม่ได้จำลองในสิ่งแวดล้อมโดยตรงแต่สร้างกล่องโดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม เป็นแถวหน้ากระดานแล้วใส่ดินลงไป ซึ่งมีหนึ่งกลุ่มที่ใช้เป็นชุดเมล็ด พันธุ์ควบคุม และอีกสองกลุ่มให้เสียงที่มีความถี่แตกต่างกัน (เสียงบริสุทธ์และเสียงสุ่ม )โดยใช้ระดับเสียงที่เริ่มได้ยินในการทดลอง เขาใช้เสียง 5,000 Hz และ 13,300 Hz กับเมล็ดอลิสซัมทั้งก่อนและหลังการงอกเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนเมล็ดที่งอกและการงอกพบว่าเพิ่มขึ้นเป็น2เซนติเมตรหรือสูงกว่ากลุ่มควบคุมของเมล็ดทั้งหมด ภายใต้สภาวะแวดล้อมที่คล้ายคลึงกันคือสภาพห้องและแสงที่ได้รับจากหน้าต่างเขาสรุปผลเกี่ยวกับเสียงว่าเมื่อมีความถี่สูงโทนเสียงเพิ่มขึ้นแล้วอัตราการงอกและการเจริญเติบโตของพืชเพิ่มขึ้น โดยเสียงสุ่มมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงซึ่งเขาไม่ได้ให้เหตุผลไว้สำหรับเรื่องนี้บทความอื่นๆที่มีความเกี่ยวข้องกับงานวิจัยนี้ เช่นผลกระทบของเสียงสุ่มในต้นยาสูบซึ่งWoodlief, Roysier และ Huangไม่ได้ใช้กลุ่มควบคุมเป็นเทคนิคการกำหนดอัตราการเจริญเติบโตสำหรับต้นยาสูบ มันท าให้ความชันเส้นโค้งของอัตราการเจริญเติบโตลดลงและสรุปคือเสียงที่ได้จากการสุ่มในสภาพแวดล้อมส่งผลเสียต่ออัตราการเจริญเติบโตของพืชโดยอ้างอิงจากบทความที่กล่าวว่า“การตอบสนองของพืชต่อเสียงจากสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์กับพืชขนาดเล็กโดยพืชขนาดเล็กมีการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า”ดังนั้นจึงได้มีการทำการวิจัยในครั้งนี้ขึ้นเพื่อศึกษาความยาวคลื่นของเสียงที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโตของต้นถั่วและต้นเทียนโดยมีแนวคิดของA.E.Lordซึ่งอธิบายว่าเสียงมีผลต่ออัตราการคายน้ำของพืช เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับทำการวิเคราะห์ในงานวิจัยครั้งนี้ 


Read More

ผลของปุ๋ยอินทรียแ์บบเม็ดที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักฉ่อยและข้าวเจ้าพันธุพ์ิษณุโลก 60-2

Leave a Comment
ผลของปุ๋ยอินทรียแ์บบเม็ดที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักฉ่อยและข้าวเจ้าพันธุพ์ิษณุโลก 60-2 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ปุ๋ยแบบเม็ด

ปุ๋ยอินทรีย์เป็นสารที่มีประสิทธิภาพสำหรับการปรับปรุงคุณภาพดินในระยะยาวนอกจากนี้ปุ๋ยอินทรีย์ยังผลิตจากของเสียซึ่งเป็นการลดต้นทุนการผลิตทางการเกษตรด้วยในประเทศไทยมีปุ๋ยอินทรีย์หลาย ชนิด เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยอินทรีย์แบบเม็ด ซึ่งแต่ละชนิดนั้นใช้งานต่างกัน ปุ๋ย อินทรีย์แบบเม็ดส่วนใหญ่เป็นปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักผสมกับเม็ดดิน นอกจากนี้เกษตรกรอาจใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปรับปรุงดินในนาข้าว ผู้ผลิตปุ๋ยอ้างว่าตัวแทนสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ปุ๋ยและชะลอการปล่อยปุ๋ยสู่พืชวัตถุประสงค์ของการศึกษาคือเพื่อเปรียบเทียบผลของปุ๋ยอินทรีย์แบบเม็ดชนิดต่างกันและปุ๋ย VD 100 ที่ใช้ปลูกข้าวแทนดินมีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักฉ่อยและข้าวเจ้าพันธุ์พิษณุโลก 60-2 


Read More

เครื่องวัดมุมดวงอาทิตย์อย่างง่ายโดยใช้ระบบเส้นขอบฟ้า

Leave a Comment
เครื่องวัดมุมดวงอาทิตย์อย่างง่ายโดยใช้ระบบ

เส้นขอบฟ้า

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เส้นขอบฟ้า

ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ดวงเดียวในระบบสุริยะเป็นแหล่งพลังงานสำคัญของโลกสิ่งมีชีวิตต่างๆล้วนดำรงชีวิตได้เนื่องจากได้รับความร้อนแสงและพลังงานจากดวงอาทิตย์ มนุษย์รู้จักนำความรู้เกี่ยวกับดวงอาทิตย์มาประยุกต์ใช้ในการทำนายฤดูกาลเพาะปลูกตั้งแต่โบราณกาล มีการทำนาฬิกาแดดเพื่อบอกเวลาและใช้ในการเดินเรือหรือแม้กระทั่งพืชก็ใช้แสงจากดวงในการสังเคราะห์แสงจะเห็นได้ว่าดวงอาทิตย์เป็นสิ่งที่สำคัญมากของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด 

มนุษย์ได้ให้ความสำคัญกับดวงอาทิตย์มาตั้งแต่โบราณกาลและได้สังเกตเห็นว่าในระยะเวลา 1 ปีดวงอาทิตย์ขึ้นและตกในเวลาที่แตกต่างกันระยะเวลาตอนกลางวันกับตอนกลางคืนยาวไม่เท่ากันและดวงอาทิตย์มีการขึ้นในตำแหน่งที่แตกต่างกันออกไปซึ่งเป็นผลมาจากแกนโลกเอียงทำมุมกับระนาบสุริยวิถี 23.5 องศา
จากที่กล่าวมาข้างต้นผู้จัดทำจึงมีความสนใจอยากจะสร้างเครื่องมือที่ใช้วัดตำแหน่งของดวงอาทิตย์ในแต่ละวัน ในระบบพิกัดขอบฟ้า(horizontal System)อย่างง่ายเพื่อเป็นประโยชน์ในการใช้ศึกษาเกี่ยวกับดวงอาทิตย์และใช้ต้นทุนในการผลิตต่ำและทำการศึกษาตำแหน่งของดวงอาทิตย์จากเครื่องมือเพื่อเปรียบเทียบกับตำแหน่งของดวงอาทิตย์ที่ได้จากโปรแกรม stellarium 



Read More

การศึกษาเปรียบเทียบปริมาณสารแทนนินในใบหูกวาง เปลือกแค เปลือกมะพร้าว อ่อนที่มีผลต่อการยับยั้งแบคทีเรีย Bacillus cereus

Leave a Comment
การศึกษาเปรียบเทียบปริมาณสารแทนนินในใบหูกวาง เปลือกแค เปลือกมะพร้าว อ่อนที่มีผลต่อการยับยั้งแบคทีเรีย Bacillus cereus
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แทนนิน

สารแทนนินเป็นสารประกอบโพลีพีนิลชนิดหนึ่งพบได้ในพืชหลายชนิดมีโมเลกุลใหญ่และโครงสร้างซับซ้อนมีสถานะเป็นกรดอ่อนรสฝาดสารแทนนินจึงพบมากในพืชที่มีรสฝาด เช่น ใบฝรั่ง เปลือกมังคุด ใบชา ใบพลู เปลือกเมล็ดมะขาม กล้วยดิบ เป็นต้น สารแทนนินสามารถสกัดออกมาใช้ ประโยชน์ได้ง่าย โดยสามารถละลายในตัวท้าละลายชนิดน้้ากลั่นเอทานอลและอะซิโตนอีกทั้งสารแทนนินยังเป็นสารสารพัดประโยชน์สามารถบรรเทาอาการท้องร่วงเป็นสารต้านอนุมูลอิสระถึงแม้แทนนินจะมีประโยชน์มากมายแต่สารแทนนินก็ยังมีโรคต่อร่างกายมากมายถ้ารับประทานในปริมาณที่มากเกินไปประโยชน์อีกประการหนึ่งที่คณะผู้จัดท้าสนใจเกี่ยวกับสารแทนนิน คือ ความสามารถในการท้าลายเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราต่างๆ คณะผู้จัดท้าจึงเล็งเห็นการน้าพืชที่มีอยู่ในท้องถิ่นที่มีสารแทนนินมาใช้ให้เกิดประโยชน์โดยการน้าใบหูกวาง เปลือกแค เปลือกมะพร้าวอ่อนที่มีผลในการยับยั้งแบคทีเรีย าทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งแบคทีเรีย  Bacillus cereus 


Read More

การศึกษาสรีรวิทยาของการเคลื่อนไหวในลำต้นของต้นอ่อนของถั่วลันเตาสายพันธุ์ Alaska

Leave a Comment
การศึกษาสรีรวิทยาของการเคลื่อนไหวในลำต้นของต้นอ่อนของถั่วลันเตาสายพันธุ์ Alaska
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ต้นถั่วลันเตา

การตอบสนองต่อแสงในต้นอ่อนของถั่วลันเตาที่อ่อนแอนั้นค่อนข้างต่ำความโค้งที่เกิดจากการชักนำโดยการให้แสงสีน้ าเงินด้านเดียวสามารถเร่งและมี magnitude ที่เพิ่มขึ้นได้โดยการให้แสงสีแดงในที่มืดเป็น เวลานานไฟโตโครม(Phytochrome)เกี่ยวข้องกับผลกระทบของแสงสีแดงการตอบสนองต่อแสงถูกยับยั้ง เกือบสมบูรณ์โดยการเคลื่อนย้ายของตายอดและ hook แต่จะดีขึ้นเมื่อนำ indole-3-acetic acid มาตัดจน เหลือโคนด้วยเหตุนี้ลำต้นจึงประกอบด้วยตัวรับแสงและกลไกในการตอบสนองการตอบสนองต่อแรงโน้มถ่วงของโลกยังคงมีการเปลี่ยนแปลงในลำต้นแต่การตัดส่วนยอดจะเกิดการยับยั้งที่น้อย มันถูกจับตามองว่าการเคลื่อนไหวและการโค้งเนื่องจากตอบสนองต่อแรงโน้มถ่วงแตกต่างจากการตอบสนองต่อแสง สิ่งที่เหมือนกับ การตอบสนองต่อแสงคือ การนิวเทชันที่ต้องออกซิน (auxin) และกระตุ้นโดยแสงสีแดง สิ่งที่ไม่เหมือนกัน คือก คาวมโค้งนิวเทชันเนื่องจากตอบสนองต่อแสงเกิด apical hook และแผ่ขยายโดยการเลื้อยไปตามลำต้น Naphthylphthalamic acid เพิ่มการเกิดนิวเทชันการตอบสนองต่อแสงและแรงโน้มถ่วง และการ เจริญเติบโต ซึ่งการตอบสนองต่อแสง การตอบสนองต่อแรงโน้มถ่วงและการเกิดการนิวเทชันแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของการเคลื่อนไหวในลำต้นพร้อมกับกลไกการเจิญเติบโตที่แตกต่าง 


Read More

วันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

การศึกษาสมบัติของเส้นใยแมงมุมในเขตปริมณฑลและการนำไปใช้ในงานสิ่งทอ

Leave a Comment
การศึกษาสมบัติของเส้นใยแมงมุมในเขตปริมณฑลและการนำไปใช้ในงานสิ่งทอ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ใยแมงมุม

ในการศึกษาสมบัติและลักษณะทางกายภาพของเส้นใยแมงมุมพันธุ์ Nephilaนี้ทำการเก็บตัวอย่างจากพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย เส้นใยเก็บมาจาก 2 แหล่งได้แก่การดึงเส้นใยจากแมงมุมและเก็บเส้นใย เส้นใยทั้ง 2 แหล่งเป็นชนิดเส้นใยที่เรียกว่า Dragline จากนั้นได้นำมาทำการทดสอบ RTIR,DSC,TGA ทดสอบดูภาพตัดขวางและตามยาวการเผาไหม้เบอร์เส้นใยและทดสอบการทนแรงดึง



Read More

การศึกษาปริมาณความเข้มข้นของสารสกัดจากดอกดาวเรืองในการยับยั้งเชื้อรา

Leave a Comment
การศึกษาปริมาณความเข้มข้นของสารสกัด
จากดอกดาวเรืองในการยับยั้งเชื้อรา
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ดอกดาวเรือง

ประเทศไทยมีการปลูกข้าวมาช้านานมีที่ดินปลูกข้าวมากที่สุดเป็นอันดับ 5 ของโลกและเป็นผู้ส่งออกข้าวเป็นอันดับ 1 ของโลก ซึ่งข้าวที่ปลูกมากที่สุดในประเทศไทยคือ ข้าวหอมมะลิ ปัจจุบันมักประสบกับปัญหาด้านการผลิตโดยเฉพาะโรคพืชนั้นเป็นปัจจัยที่ทำให้การผลิตข้าวหอมมะลิมีปริมาณลดลงและมีคุณภาพต่ำลง เช่น โรคใบจุดสีน้ำตาล สาเหตุจากเชื้อรา Drechslera Oryzae โครงงานนี้จึงมีแนวคิดที่จะใช้สารสกัดจากธรรมชาติที่สามารถมีสารที่ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา Drechslera Oryzae ได้ โดยทำการศึกษาระดับความเข้มข้นที่เหมาะสมในการยับยั้งเชื้อรา Drechslera Oryzae สาเหตุโรคใบจุดสีน้ำตาลในข้าวหอมมะลิ เพื่อเป็นแนวทางในการลดการใช้สารเคมีอีกทั้งยังช่วยให้ลดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมศึกษาที่ที่ความเข้มข้น 20% 30% 40% และ 50% โดยทำการทดลองใช้สารสกิดที่ห้องควบคุมแปลงปลูกข้าวสาธิตศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี ทั้งนี้ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงงานนี้ก็คือ ได้สารสกัดจากดอกดาวเรืองที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อรา Drechslera Oryzae สาเหตุโรคใบจุดสีน้ำตาลในข้าวหอมมะลิทราบถึงแนวทางในการป้องกันเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคใบจุดสีน้ำตาลในข้าวหอมมะลิ,ลดปริมาณการใช้สารเคมีในการฆ่าเชื้อราในนาข้าว,เป็นทางเลือกหนึ่งของเกษตรกรเพื่อลดสารเคมีตกข้างในนาข้าวเพื่อเป็นแนวทางในการลดการใช้สารเคมีอีกทั้งยังช่วยให้ลดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมตลอดจนการนำผลการศึกษาไปประยุกต์กับโรคพืชในกลุ่มเดียวกันที่เกิดกับพืชชนิดอื่นๆต่อไป



Read More

การศึกษาเบื้องต้นของน้ำจากหยวกกล้วยเป็นฐานสำหรับการสร้างตะกอนเพื่อการบำบัดน้ำเสียน้ำหล่อเย็น

Leave a Comment
การศึกษาเบื้องต้นของน้ำจากหยวกกล้วยเป็นฐานสำหรับการสร้างตะกอนเพื่อการบำบัดน้ำเสียน้ำหล่อเย็น
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ น้ำ จากหยวกกล้วย

กล้วยเป็นไม้ล้มลุกจำพวกMusaspp.ของวงศ์Musaceaeกล้วยเป็นหนึ่งในผลไม้เขตร้อนที่ปลูกอย่างกว้างขวางเพราะมีคุณค่าทางอาหารสูงและนอกจากนี้ยังเป็นสิ่งสำคัญที่ใช้ในการควบคุมอาหารในประเทศมาเลเซียการผลิตกล้วยทางการค้าเพิ่มขึ้น 24-27% ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมามี 27,453 ไร่ในปี 2009 โดยมีรัฐ Johor,PahangและSarawakเป็นแหล่งผลิตกล้วยที่ใหญ่ที่สุดก้านจากผลไม้ที่นำมาควรตัดออก เพราะมันจะไม่เจริญเติบโตต่อไปอีกก้านจะถูกทิ้งมากในการเพาะปลูกและปกติก็จะเน่าหรือนำมาทำเป็นปุ๋ย



Read More

การศึกษาการทำเซรามิกจากซิลิกอนคาไบค์โดยก๊อกไม้โอ๊ค

Leave a Comment
การศึกษาการทำเซรามิกจากซิลิกอนคาไบค์
 โดยก๊อกไม้โอ๊ค
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ จุกก๊อกไม้

วัสดุเซรามิกที่มีรูพรุนของซิลิกอนคาไบด์ถูกสังเคราะห์จากคาร์บอนเมทริกซ์โดยกระบวนการไพโรไลซิสโดยใช้ไม้ก๊อกธรรมชาติเป็นสารตั้งต้นงานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อเสนอวิธีในการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ที่ซับซ้อนของเซรามิกที่มีรูพรุนดังกล่าวประกอบกับการแยกชิ้นส่วนที่ทำจากไม้ก๊อกธรรมชาติ และในการทดลองผลปรากฏว่าความหนาของผนังคาร์บอนเมทริกซ์สามารถเพิ่มขึ้นโดยการนำไปแช่ในสารละลายเบคิไลต์ฟีนอลิกและกระบวนการไพโรไลซิสเป็นการลดขนาดรูพรุนของวัสดุและสามารถนำมาใช้เป็นวิธีการปรับเปลี่ยนลักษณะกลไกและความร้อนทั้งคาร์บอนเมทริกซ์(ผลจากขั้นตอนไพโรไซิส) และผลลัพธ์เซรามิกซิลิกอนคาไบด์ที่แสดงให้เห็นสัณฐานเทียมของโครงสร้างภายในไม้ก๊อกเริ่มต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิในการสังเคราะห์(3C-SiC,6H-SiC)หรือส่วนผสมของพอลีไทป์ซึ่งอาจจะได้รับแตกต่างกัน,อัตราส่วนมวลเริ่มต้นของคาร์บอนและซิลิกอนที่เป็นส่วนประกอบ,ปริมาณSiCหรือSiC:C:Si , SiC:CและSiC:Siเซรามิกสามารถผลิตโครงสร้างเช่นเดียวกับสารเคมีและองค์ประกอบของวัสดุที่เตรียมไว้มีการศึกษาด้วยเทคนิครามานสเปคโตรสโคปีและกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด






Read More

การศึกษาการใช้เปลือกไข่เป็นแหล่งแคลเซียมคาร์บอเนตจากธรรมชาติเพื่อใช้ผสมกับกรดไฮยาลูรอนเพื่อประโยชน์สำหรับเป็นวัสดุปลูกถ่ายกระดูกในหลอดทดลอง

Leave a Comment
การศึกษาการใช้เปลือกไข่เป็นแหล่งแคลเซียมคาร์บอเนตจากธรรมชาติเพื่อใช้ผสมกับกรดไฮยาลูรอนเพื่อประโยชน์สำหรับเป็นวัสดุปลูกถ่ายกระดูกในหลอดทดลอง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เปลือกไข่

ในกระบวนการเมตาบอลิสมและการสร้างตัวโดยเฉพาะการซ่อมแซมส่วนกระดูกพบว่าแคเซียมเป็นส่วนประกอบที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากมีงานวิจัยต่างๆแสดงให้เห็นถึงการใช้ประโยชน์จากเปลือกไข่เพื่อเป็นวัสดุทดแทนกระดูกซึ่งมีความเป็นไปได้และเป็นวัสดุทางเลือกที่มีราคาไม่สูงนักในการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาในหลอดทดลองเพื่อศึกษาถึงผลกระทบของเปลือกไข่และแคลเซียมคาร์บอเนตต่อการเป็นสารตั้งต้นในการปลูกถ่ายกระดูกมีการใช้กรดไฮยาลูรอน (HA) เป็นแม่พิมพ์เทียม (ECM) สำหรับให้เซลล์แบ่งตัวและเปลี่ยนแปลงเลียนแบบลักษณะทางสรีระวิทยาตามที่ต้องการจากเปลือกไข่ในหลอดทดลอง



Read More

การผลิตปุ๋ยชีวภาพเพื่อเพิ่มปริมาณความหวานของข้าวโพด

Leave a Comment
การผลิตปุ๋ยชีวภาพเพื่อเพิ่มปริมาณความหวานของข้าวโพด
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ข้าวโพด

การทดลองโครงงานเรื่อง การผลิตปุ๋ยชีวภาพเพื่อเพิ่มปริมาณความหวานของข้าวโพด
โดยทดลองทั้งหมด 3 ซ้ำ คือ1.Control(ไม่ใส่ปุ๋ยใดๆ เลย),2.ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 และ3.ใส่ปุ๋ยชีวภาพที่ได้คิดค้นขึ้นมาโดยใช้ข้าวโพดหวานพิเศษพันธุ์ Super-Sweet ปลูกเป็นพืชทดสอบ
อย่างไรก็ตามเมื่อคำนึงถึงค่าใช้จ่ายโดยรวมแล้วทั้งกากน้ำตาล,กากถั่วเหลือง,น้ำซาวข้าว,ชานอ้อย และEffective Micro-organisms ball ต่างก็เป็นวัตถุดิบที่หาได้ง่ายและมีราคาที่ไม่สูงมากนักทั้งยังเป็นวัตถุดิบที่ช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน,ปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างให้ดีขึ้นรวมทั้งยกระดับปริมาณธาตุอาหารหลัก N, P, K และ ธาตุรอง Ca, Mg และ Sให้สูงขึ้นระดับหนึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอัตราส่วนของส่วนผสมแต่ละอย่างที่ได้ใช้ในการทำปุ๋ยชีวภาพ



Read More

การเปรียบเทียบคุณภาพยางเฉาก๊วยที่ได้จากการปลูกในดินและแบบไฮโดรโปนิกส์

Leave a Comment
การเปรียบเทียบคุณภาพยางเฉาก๊วยที่ได้จากการปลูกในดินและแบบไฮโดรโปนิกส์
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เฉาก๊วย

ในยุคปัจจุบันคนไทยหันมาดูแลตนเองในเรื่องการรับประทานอาหารมากขึ้นประกอบกับค่านิยมการกินผักสมุนไพรป้องกันโรคเนื่องด้วยประเทศไทยเป็นเมืองร้อนคนไทยจึงนิยมรับประทานผักสมุนไพรฤทธิ์เย็น ตัวอย่างเช่น แตงกวา ว่านหางจระเข้ ใบย่านาง ใบบัวบก เฉาก๊วย เป็นต้น
          เฉาก๊วย เป็นอาหารที่อยู่คู่กับคนไทยมาช้านานมีสรรพคุณ ลดความดันโลหิตสูงลดอาการโรคเบาหวานแก้ร้อนในกระหายน้ำในอดีตคนไทยต้องนำเข้าเฉาก๊วยแห้งจากประเทศจีนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากจีนคือประเทศที่สามารถปลูกเฉาก๊วยได้มากที่สุดและคนไทยรู้จักเฉาก๊วยจากชาวจีนที่มาติดค้าขายในไทยแต่ในปัจจุบันประเทศไทยสามารถปลูกเฉาก๊วยเองได้ทำให้ลดการนำเข้าเฉาก๊วยแห้งเป็นจำนวนมากสำหรับการปลูกเฉาก๊วยสามารถทำได้หลายวิธีตัวอย่างเช่นการปักชำจากกิ่งการเพาะเมล็ด การปลูกด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ เป็นต้น
          การปลูกพืชแบบไฮโดรไปนิกส์เป็นการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน มีหลายวิธี โดยส่วนใหญ่มักนิยมให้รากพืชแช่ในสารละลายโดยตรงประโยชน์จากการปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์คือสามารถลดอัตราการเกิดโรคของพืชที่เป็นสาเหตุมาจากดินรวมทั้งลดการปนเปื้อนของสารเคมีที่ตกค้างในดินจึงเป็นสาเหตุให้คนส่วนใหญ่นิยมรับประทานผักที่ใช้วิธีการปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์
          ด้วยเหตุนี้คณะผู้จัดทำจึงมีความสนใจที่จะศึกษาเปรียบเทียบปริมาณคุณภาพของยางเฉาก๊วยที่ปลูกในดินและแบบไฮโดรโปนิกส์เพื่อหาแนวทางเลือกใหม่ให้เกษตรกร ผู้ผลิต และผู้บริโภค ในการใช้ประโยชน์จากต้นเฉาก๊วยสมุนไพรมากประโยชน์ได้มากขึ้น



Read More