วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2561

อิฐดินเผามวลเบาจากชานอ้อย

Leave a Comment
อิฐดินเผามวลเบาจากชานอ้อย
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อิฐ
การศึกษาอิฐดินเผามวลเบาจากชานอ้อย มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของดินที่ใช้ในการขึ้นรูปอิฐดินเผามวลเบาจากชานอ้อย 2. เพื่อเปรียบเทียบอัตราส่วนผสมของอิฐดินเผามวลเบาจากชานอ้อย ที่เผาขึ้นรูปที่อุณหภูมิที่แตกต่างกันต่อสมบัติทางกายภาพของอิฐดินเผามวลเบาจากชานอ้อย จากผลการทดลอง พบว่าองค์ประกอบหลักที่สำคัญคือ ซิลิกอนไดออกไซด์ (SiO2) ซึ่งส่งผลให้ชิ้นงานอิฐมีความแข็งแรงเมื่อเผาที่อุณหภูมิสูง รองลงมาคืออะลูมิเนียมออกไซด์ (Al2O3) ซึ่งทำให้อิฐมีความทนไฟสูง และออกไซด์ของเหล็ก (Fe2O3) ที่ส่งผลให้ชิ้นงานหลังเผามีสีแดง เมื่อพิจารณาส่วนประกอบของดิน พบว่ามีผลรวมของเฟอริคออกไซด์ (Fe2O3) แคลเซียมออกไซด์ (CaO) แมกนีเซียมออกไซด์ (MgO) และไททาเนียมออกไซด์ (TiO2) มากกว่าร้อยละ 9 แสดงว่าดินที่ใช้ในการทดลองนี้เป็นดินประเภทไม่ทนไฟ นอกจากนั้นส่วนประกอบเหล่านี้ยังเป็นตัวช่วยให้กระบวนการเผาอิฐ (Flux) เกิดได้ง่ายที่อุณหภูมิไม่สูงอีกด้วย เมื่อเปรียบเทียบปริมาณร้อยละโดยน้ำหนักของชานอ้อยที่เติมลงไป ที่เผาที่อุณหภูมิที่แตกต่างกันต่อสมบัติทางกายภาพของอิฐดินเผามวลเบาจากชานอ้อย พบว่าเมื่อเผาที่อุณหภูมิ 800 องศาเซลเซียส มีค่าร้อยละการหดตัวและค่าร้อยละน้ำหนักที่สูญหายหลังเผาของชิ้นงานมากที่สุด เมื่อเติมชานอ้อยร้อยละ 15 รองลงมาคือร้อยละ 10, 5 และ 2.5 โดยมีค่าร้อยละการหดตัวหลังเผา คือ 7.05, 5.81, 4.56 และ 4.39 ตามลำดับ มีร้อยละน้ำหนักที่สูญหายหลังเผา 20.88, 20.00, 14.12 และ 9.03 ตามลำดับ และมีค่าความต้านทานแรงอัดของชิ้นงานมากที่สุด เมื่อเติมชานอ้อยร้อยละ 2.5 รองลงมาคือร้อยละ 5, 10 และ 15 โดยมีค่าความต้านทานแรงอัด คือ 12.53, 10.79, 4.36 และ 4.18 ตามลำดับ เมื่อเผาที่อุณหภูมิ 900 องศาเซลเซียส พบว่ามีค่าร้อยละการหดตัวและค่าร้อยละน้ำหนักที่สูญหายหลังเผามากที่สุด เมื่อเติมชานอ้อยร้อยละ 15 รองลงมาคือร้อยละ 10, 5 และ 2.5 โดยมีค่าร้อยละการหดตัว คือ 7.16, 6.78, 6.65 และ 6.44 ตามลำดับ มีร้อยละน้ำหนักที่สูญหายหลังเผา 26.09, 22.64, 18.10 และ 14.2 ตามลำดับ และมีค่าความต้านทานแรงอัดของชิ้นงานมากที่สุด เมื่อเติมชานอ้อยร้อยละ 2.5 รองลงมาคือร้อยละ 5, 10 และ 15 โดยมีค่าความต้านทานแรงอัด คือ 8.97, 6.27, 3.64 และ 3.59 ตามลำดับ  เมื่อเผาที่อุณหภูมิ 1000 องศาเซลเซียส พบว่ามีค่าร้อยละการหดตัว และค่าร้อยละน้ำหนักที่สูญหายหลังเผามากที่สุดคือร้อยละ 15 รองลงมาคืออิฐดินเผามวลเบาจากชานอ้อยร้อยละ 10, 5 และ 2.5 โดยมีค่าร้อยละการหดตัวหลังเผา คือ 8.99, 8.19, 7.96 และ 7.74 ตามลำดับ มีร้อยละน้ำหนักที่สูญหายหลังเผา 27.30, 26.80, 21.59 และ 17.20 ตามลำดับ และมีค่าความต้านทานแรงอัดของชิ้นงานมากที่สุดคือร้อยละ 2.5 รองลงมาคือร้อยละ 5, 10 และ 15 โดยมีค่าความต้านทานแรงอัด คือ 7.81, 3.48, 3.41 และ 3.37 ตามลำดับ  ส่วนอิฐดินเผามวลเบาที่ไม่ผสมชานอ้อย พบว่าเมื่อนำไปเผาขึ้นรูปจะแตก   ในทุกอุณหภูมิที่ใช้เผาขึ้นรูป




If You Enjoyed This, Take 5 Seconds To Share It

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น