วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2561

การศึกษาประสิทธิภาพของผ้าฝ้ายเคลือบยางพารา

Leave a Comment

การศึกษาประสิทธิภาพของผ้าฝ้ายเคลือบยางพารา

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ผ้าฝ้าย

โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของผ้าฝ้ายเคลือบยางพารา ด้วยการนำยางพารามา เพิ่มคุณสมบัติที่หลากหลายอาทิเช่น การกันน้ำ ความยืดหยุ่น และความทนต่อสภาวะกรดเบส  เพื่อให้ผ้าฝ้าย สามารถนำมาใช้งานได้หลากหลายยิ่งขึ้น
          ในการเคลือบผ้าฝ้ายด้วยการศึกษาผลของระยะเวลาที่ใช้ในการเคลือบผ้าฝ้ายด้วยน้ำยางพารา พบว่า เมื่อเคลือบผ้าฝ้ายด้วยยางพารานั้นมีความหนาเพิ่มมากขึ้นจากเดิม ซึ่งระยะเวลา 5 นาทีนั้นผ้ามีความหนา 0.654 mm ซึ่งเป็นความหนาที่เหมาะสมผู้จัดทำได้นำเลือกระยะเวลาที่5นาทีมาทำการเคลือบผ้าฝ้ายแล้วนำมาศึกษาประสิทธิภาพของสารละลายและความเข้มข้นที่มีผลต่อการแข็งตัวของยางพารา โดยสารละลายที่ผู้จัดทำเลือกได้แก่ สารละลาย HCl, CH3COOH, Ethanol, NaOH, และ Glycerol โดยสังเกตสมบัติของผ้าฝ้ายเคลือบยางพารา ได้แก่ การแข็งตัว มีกลิ่น และการเกิดรา ซึ่งพบว่า HCl 0.1 M ดีที่สุด  ศึกษาสารละลาย HCl 0.1 M + Glycerol และ CH3COOH 0.1M + Glycerol ชนิดใดเหมาะสมกว่ากัน ซึ่งพบว่าการนำผ้าฝ้ายเคลือบยางพารามาแช่ HCl 0.1 M + Glycerol ทำให้ผ้าฝ้ายเคลือบยางพารามีลักษณะความเป็นกาวที่น้อยลง ไม่มีกลิ่นและไม่เกิดรา สุดท้ายผู้จัดทำได้นำมาทดสอบประสิทธิภาพของผ้าฝ้ายเคลือบยางพารา สรุปผลการทดลองได้ว่า ด้านการทดสอบความแข็งแรงนั้นพบว่า ผ้าฝ้ายเคลือบยางพาราจะมีแรงต้านมากกว่าผ้าฝ้ายปกติทำให้ ด้านทดสอบการดูดซับน้ำ พบว่าระยะทางการเคลื่อนที่ของน้ำ/เวลา ของผ้าฝ้ายที่เคลือบยางพารานั้นมีค่าน้อยกว่าผ้าฝ้ายปกติ ด้านการทดสอบความร้อนพบว่า ช่วงแรกอุณหภูมิช่วงต้นจะไม่มีผลต่อความความขุ่นของน้ำแต่เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นถึง 100 จะทำให้มีความขุ่นเพิ่มมากขึ้น ด้านการทดสอบความเป็นกรดเบส พบว่าที่สภาวะความเป็นกรดไม่มีผลต่อการละลายของยางพารา  ซึ่งในสภาะวะที่เป็นเบส ยิ่งค่า pH เพิ่มมากขึ้นการละลายของน้ำยางพาราก็จะออกจากผ้ามากขึ้น โดยเริ่มต้นที่ pH เท่ากับ 9 และจะเพิ่มมากขึ้นไปเรื่อยๆ



>>คลิีกเพื่อดาวน์โหลด<<




Read More

อิฐดินเผามวลเบาจากชานอ้อย

Leave a Comment
อิฐดินเผามวลเบาจากชานอ้อย
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อิฐ
การศึกษาอิฐดินเผามวลเบาจากชานอ้อย มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของดินที่ใช้ในการขึ้นรูปอิฐดินเผามวลเบาจากชานอ้อย 2. เพื่อเปรียบเทียบอัตราส่วนผสมของอิฐดินเผามวลเบาจากชานอ้อย ที่เผาขึ้นรูปที่อุณหภูมิที่แตกต่างกันต่อสมบัติทางกายภาพของอิฐดินเผามวลเบาจากชานอ้อย จากผลการทดลอง พบว่าองค์ประกอบหลักที่สำคัญคือ ซิลิกอนไดออกไซด์ (SiO2) ซึ่งส่งผลให้ชิ้นงานอิฐมีความแข็งแรงเมื่อเผาที่อุณหภูมิสูง รองลงมาคืออะลูมิเนียมออกไซด์ (Al2O3) ซึ่งทำให้อิฐมีความทนไฟสูง และออกไซด์ของเหล็ก (Fe2O3) ที่ส่งผลให้ชิ้นงานหลังเผามีสีแดง เมื่อพิจารณาส่วนประกอบของดิน พบว่ามีผลรวมของเฟอริคออกไซด์ (Fe2O3) แคลเซียมออกไซด์ (CaO) แมกนีเซียมออกไซด์ (MgO) และไททาเนียมออกไซด์ (TiO2) มากกว่าร้อยละ 9 แสดงว่าดินที่ใช้ในการทดลองนี้เป็นดินประเภทไม่ทนไฟ นอกจากนั้นส่วนประกอบเหล่านี้ยังเป็นตัวช่วยให้กระบวนการเผาอิฐ (Flux) เกิดได้ง่ายที่อุณหภูมิไม่สูงอีกด้วย เมื่อเปรียบเทียบปริมาณร้อยละโดยน้ำหนักของชานอ้อยที่เติมลงไป ที่เผาที่อุณหภูมิที่แตกต่างกันต่อสมบัติทางกายภาพของอิฐดินเผามวลเบาจากชานอ้อย พบว่าเมื่อเผาที่อุณหภูมิ 800 องศาเซลเซียส มีค่าร้อยละการหดตัวและค่าร้อยละน้ำหนักที่สูญหายหลังเผาของชิ้นงานมากที่สุด เมื่อเติมชานอ้อยร้อยละ 15 รองลงมาคือร้อยละ 10, 5 และ 2.5 โดยมีค่าร้อยละการหดตัวหลังเผา คือ 7.05, 5.81, 4.56 และ 4.39 ตามลำดับ มีร้อยละน้ำหนักที่สูญหายหลังเผา 20.88, 20.00, 14.12 และ 9.03 ตามลำดับ และมีค่าความต้านทานแรงอัดของชิ้นงานมากที่สุด เมื่อเติมชานอ้อยร้อยละ 2.5 รองลงมาคือร้อยละ 5, 10 และ 15 โดยมีค่าความต้านทานแรงอัด คือ 12.53, 10.79, 4.36 และ 4.18 ตามลำดับ เมื่อเผาที่อุณหภูมิ 900 องศาเซลเซียส พบว่ามีค่าร้อยละการหดตัวและค่าร้อยละน้ำหนักที่สูญหายหลังเผามากที่สุด เมื่อเติมชานอ้อยร้อยละ 15 รองลงมาคือร้อยละ 10, 5 และ 2.5 โดยมีค่าร้อยละการหดตัว คือ 7.16, 6.78, 6.65 และ 6.44 ตามลำดับ มีร้อยละน้ำหนักที่สูญหายหลังเผา 26.09, 22.64, 18.10 และ 14.2 ตามลำดับ และมีค่าความต้านทานแรงอัดของชิ้นงานมากที่สุด เมื่อเติมชานอ้อยร้อยละ 2.5 รองลงมาคือร้อยละ 5, 10 และ 15 โดยมีค่าความต้านทานแรงอัด คือ 8.97, 6.27, 3.64 และ 3.59 ตามลำดับ  เมื่อเผาที่อุณหภูมิ 1000 องศาเซลเซียส พบว่ามีค่าร้อยละการหดตัว และค่าร้อยละน้ำหนักที่สูญหายหลังเผามากที่สุดคือร้อยละ 15 รองลงมาคืออิฐดินเผามวลเบาจากชานอ้อยร้อยละ 10, 5 และ 2.5 โดยมีค่าร้อยละการหดตัวหลังเผา คือ 8.99, 8.19, 7.96 และ 7.74 ตามลำดับ มีร้อยละน้ำหนักที่สูญหายหลังเผา 27.30, 26.80, 21.59 และ 17.20 ตามลำดับ และมีค่าความต้านทานแรงอัดของชิ้นงานมากที่สุดคือร้อยละ 2.5 รองลงมาคือร้อยละ 5, 10 และ 15 โดยมีค่าความต้านทานแรงอัด คือ 7.81, 3.48, 3.41 และ 3.37 ตามลำดับ  ส่วนอิฐดินเผามวลเบาที่ไม่ผสมชานอ้อย พบว่าเมื่อนำไปเผาขึ้นรูปจะแตก   ในทุกอุณหภูมิที่ใช้เผาขึ้นรูป




Read More

ศึกษาการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารสกัดจากรากโล่ติ๊นและ กลอยเพื่อกำจัดเพลี้ยจักจั่นสีเขียวในนาข้าว

Leave a Comment
ศึกษาการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารสกัดจากรากโล่ติ๊นและ กลอยเพื่อกำจัดเพลี้ยจักจั่นสีเขียวในนาข้าว 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เพลี้ย

ประเทศไทยมีอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ข้าวเป็นพืชผลทางการเกษตรที่สำคัญของประเทศไทย มีพื้นที่ปลูกข้าว 68.235 ล้านไร่ ได้ผลผลิต 31.807 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่เป็น 466 ก..  (สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย,2560) ทั้งคนไทยยังรับประทานเป็นอาหารและอีกทั้งยังส่งออกต่างประเทศทำให้รายได้ส่วนหนึ่งของประเทศมาจากการขายข้าวหรือส่งออกข้าวและยังเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วยสาเหตุที่ทำให้ผลผลิตข้าวลดลงไม่เป็นไปตามศักยภาพข้าวส่วนหนึ่งมาจาก เพลี้ย ซึ่งเป็นศัตรูพืชที่เป็นหนึ่งในปัญหาที่ทำให้ชาวนาได้ผลผลิตลดลง
ซึ่งเพลี้ยที่พบเห็นอยู่ส่วนมากและเป็นที่รู้จักกันดีในนาข้าว คือ เพลี้ยจักจั่นสีเขียว ซึ่งในช่วงปีที่ผ่านมาพบว่ามีแนวโน้มที่อัตราการเพิ่มจำนวนจะเพิ่มมากขึ้นดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงคาดการณ์ไว้ว่าในอนาคตเพลี้ยจักจั่นสีเขียวจะต้องส่งผลเสียให้กับชาวนาชาวนาส่วนใหญ่มักจะกำจัดเพลี้ยโดยการใช้สารเคมีแต่สารเคมีที่ใช้กลับส่งผลกระทบให้ระบบนิเวศในนาข้าวเสื่อมโทรมลง
คณะผู้จัดทำจึงเล็งเห็นปัญหาดังกล่าวของชาวนาพวกเราจึงต้องการกำจัดเพลี้ยจักจั่นสีเขียวโดยส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศในนาข้าวให้น้อยที่สุดซึ่งเมื่อศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจึงพบว่ารากโล่ติ๊นมีสารโรติโนนและกลอยมีสารไดออสคอรีนที่สามารถกำจัดเพลี้ยได้ทางคณะผู้จัดทำจึงได้ทำโครงงานนี้ขึ้นมาเพื่อหวังว่าจะสามารถกำจัดเพลี้ยได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศในนาข้าวและทำให้ชาวนามีรายได้เพิ่มขี้นเนื่องจากการลดต้นทุนในการซื้อสารเคมีเพื่อกำจัดเพลี้ย



>>หน้าปก เนื้อหา<<


Read More

การสร้างรูปเรขาคณิตจาก fractals รูปสามเหลี่ยมด้านเท่า โดยใช้โปรแกรม GSP

Leave a Comment
การสร้างรูปเรขาคณิตจาก fractals รูปสามเหลี่ยมด้านเท่า โดยใช้โปรแกรม GSP
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ fractal

โครงงานเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและสร้างรูปเรขาคณิตจาก fractals ของรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ซง่ึจะศึกษาความสัมพันธ์ของสัดส่วนพื้นที่เท่ากับอนุกรมของพื้นที่รูป fractals สามเหลี่ยมด้านเท่าและรูปแบบของ รูปfractalsที่เกิดขึ้นเมื่อคูณด้วยค่าคงที่ต่างๆ โดยโปรแกรม The Geometer’s Sketchpad (GSP)   ในการแบ่งรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าจะแบ่งออกเป็นสัดส่วน ( 1 𝑎1 ) ที่เท่าๆ ตั้งแต่ 2-10 เท่ากับอนุกรมอนันต์ ของพื้นที่ (𝑆∞) ตั้งแต่ 1- 1 9 จากนั้นท าการทดลองหาความสัมพันธ์ของสัดส่วนพื้นที่เท่ากับอนุกรมของพื้นที่รูป fractals สามเหลี่ยมด้านเท่าจะสามารถสร้างได้ทั้งหมด 6 รูป ซึ่ง fractals ที่ไม่สามารถสร้างได้นั้นมีจ านวนสัดส่วน ที่ประกอบด้วยจ านวนเฉพาะ ยกเว้น 2 และ 3 ที่เป็นจ านวนเฉพาะที่มาสามารถสร้างรูปได้และจากการสร้างรูป fractals โดยคูณค่าคงที่เข้ากับ a1 ของ fractals รูปสามเหลี่ยมด้านเท่าจากขั้นตอนที่ 3.2.1 พบว่า รูปfractals สามเหลี่ยมด้านเท่าที่มี a1 = 1 4 จะได้ Sn = 1 3  และ รูปสามเหลี่ยมด้านเท่าที่มี a1 = 3 4 จะได้ Sn = 3 นอกจากนี้ยัง ศึกษารูป fractals ที่มีจ านวนสัดส่วนที่แบ่ง ( 1 𝑎1 ) ที่มีค่า 1 – 100 โดยท าการแยกตัวประกอบของ a1 จะสามารถ สร้างได้ 19 รูป จากการทดลองสรุปได้ว่า สามารถสร้างfractals ที่มีจ านวนสัดส่วนที่แบ่ง ( 1 𝑎1 ) ที่ไม่ได้ประกอบด้วย จ านวนเฉพาะได้ยกเว้น 2 และ 3 และรูปสามเหลี่ยมที่คูณค่าคงที่เข้ากับ a1 จะท าให้ภาพ fractals มีพื้นที่ที่ถูกแร เงามากกว่ารูปสามเหลี่ยมที่มีค่าคงที่ที่คูณเข้ากับ a1 น้อยกว่า



>>คลิ๊กเพื่อดาวน์โหลด<<
Read More

การศึกษาการผลิตผ้าด้วยเส้นใยจากใบอ้อยผสมเส้นใยฝ้ายเคลือบนาโนซิงค์ออกไซด์

Leave a Comment

การศึกษาการผลิตผ้าด้วยเส้นใยจากใบอ้อยผสมเส้นใยฝ้ายเคลือบนาโนซิงค์

ออกไซด์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ใบอ่อย

       ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจการค้ามั่นคงกับประเทศค้าขายมากมายแน่นอนว่ามีโรงงานอุตสาหกรรมในแต่ละภูมิประเทศเพื่อการผลิตแปรรูปและการขนส่งโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร เป็นโรงเรียนที่ใกล้บริเวณโรงงานอุตสาหกรรมด้านการผลิตน้ำตาลจากอ้อยทุกๆครั้งในขั้นตอนการผลิตจะไม่ได้ใช้ส่วนของใบอ้อยมาใช้ผลิตน้ำตาลและนำไปเผาทิ้งก่อให้เกิดมลภาวะทางอากาศรอบๆบริเวณแหล่งเผาใบอ้อยสังคมรอบข้างได้รับความเดือดร้อนดังนั้นทางคณะผู้จัดทำจึงหาแนวทางแก้ไขปัญหานี้ด้วยการใช้ใบอ้อยให้เกิดประโยชน์แทนการกำจัดทิ้ง โดยทำการศึกษา 1) ศึกษาระยะเวลาที่เหมาะสมในการสกัดเส้นใยจากใบอ้อย 2) เปรียบเทียบคุณสมบัติเชิงกลของเส้นใยและเส้นด้าย 3) ศึกษาความเข้มข้นของสารยึดติดที่มีผลต่อการยึดติดของสารนาโนในผ้า  และ 4) ศึกษาความสามารถในการต้านแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ของผ้าที่เคลือบสารนาโนและผ้าปกติ พบว่าเส้นใยจากใบอ้อยสามารถสกัดได้ดีเมื่อแช่ด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์เป็นระยะเวลา 8 ชั่วโมงโดยมีความเข้มข้น 10% w/w สังเกตจากลักษณะตามความเหมาะสมและการใช้งานในขั้นตอนต่อไป ผลจากการเปรียบเทียบเส้นใยจากใบอ้อยและเส้นด้ายพบว่า มีค่าความแข็งแรงสำหรับเส้นใยเดี่ยวเป็น 76 และ 82 ตามลำดับ สำหรับเส้นใยกลุ่มมีค่าเป็น 83 และ 88 ตามลำดับโดยใช้เครื่อง Single Fiber Strength Tester และ Pressley fiber bundles strength tester ส่วนจากการศึกษาการยึดติดของสารนาโนซิงค์ออกไซต์กับผ้าโดยใช้โพลิอะคริลิกที่มีความเข้มข้น 1.0%w/vจะทำให้มีประสิทธิภาพการยึดติดมากที่สุด และจากการศึกษาการต้านแบคทีเรีย Staphylococcus aureus โดยใช้สารนาโนพบว่าสามารถต้านการเจริญเติบโตในระดับการเจือจาง 10-5 ซึ่งแสดงถึงความสามารถการยับยั้งของสารนาโนได้จริง



>>คลิ๊กเพื่อดาวน์โหลด<<

Read More

การทดสอบประสิทธิภาพของหนังฟอกสีหลังเคลือบด้วยคาร์บอกซิเมทิลเซลลูโลส

Leave a Comment
การทดสอบประสิทธิภาพของหนังฟอกสีหลังเคลือบด้วยคาร์บอกซิเมทิล

เซลลูโลส


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส

อุตสาหกรรมเครื่องหนังของไทยมีการพัฒนามานานกว่า 70 ปี โดยการพัฒนาจากการเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนเน้นการใช้แรงงานจำนวนมากในการผลิตมาเป็นการผลิตแบบโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการนำเครื่องจักรและเทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่มาใช้ ตลอดจนมีการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตอยู่เสมอในการนำหนังฟอกเข้าสู่กระบวนการผลิตเครื่องหนังนั้น ช่างหนังต้องทำการเตรียมท้องหนังก่อน เพื่อทำความสะอาดหนัง ลดตำหนิ ทำให้หนังตึง เพราะโดยธรรมชาติของหนังมักมีการบวมย่น การเตรียมหนังจะทำให้หนังเป็นแผ่นเรียบพร้อมใช้งาน เพื่อทำให้หนังเรียบ ไม่เป็นขุย และทำให้หนังมีสภาพคงทนโดยใช้คาร์บอกซิเมทิลเซลลูโลสหรือซีเอ็มซี (carboxymethylcellulose,CMC) ซึ่งเป็นสารที่มีคุณสมบัติเป็นสารคงสภาพ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่เป็นอันตราย เป็นตัวเคลือบท้องหนัง ทางผู้จัดทำเห็นว่าไม่มีงานวิจัยรองรับว่าการเคลือบท้องหนังด้วย CMC จะมีประสิทธิภาพอย่างไรเมื่อนำไปใช้งาน ด้วยเหตุนี้ผู้จัดทำจึงนำหนังฟอกสีที่เคลือบด้วย CMC ไปทดสอบความเรียบของหนังฟอกสีและทดสอบประสิทธิภาพการยึดเกาะของคาร์บอกซิเมทิลเซลลูโลส(CMC) ที่เคลือบหนังฟอกสี เมื่อนำไปแช่ในน้ำกลั่นที่อุณหภูมิห้อง, สารละลายกรด HCl, สารละลาย NaCl และสารละลาย NaOH พบว่า CMC มีค่าดูดกลืนแสงสูงสุดที่ความยาวคลื่น 195 nm เมื่อนำของเหลวที่ผ่านการแช่หนังไปวัดค่าความเข้มข้นของ CMC จะได้ว่าในสารละลายกรด HCl, สารละลาย NaOH, สารละลาย NaCl และน้ำอุณหภูมิห้อง มี CMC เข้มข้น 0.166, 0.087, 0.008 และ 0.087 mg/L ตามลำดับ 


>>บท1-5<< >>บทคัดย่อ<<




Read More

ถุงน้ำร้อนอเนกประสงค์

Leave a Comment
ถุงน้ำร้อนอเนกประสงค์ 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ถุงน้ำร้อน

 ในปัจจุบันอาการปวดตามบริเวณร่างกายในส่วนต่างๆมักเกิดขึ้นได้กับทุกๆช่วงอายุคน ซึ่งอาการ ปวดต่างๆมีทั้งภายในและภายนอกร่างกาย เช่น  กล้ามเนื้อเกร็ง หรือเจ็บปวดที่กล้ามเนื อ ปวดบิดใน ท้อง ปวดประจ้าเดือน ปวดตามข้อเนื่องจากโรครูมาติก มีการต่างๆที่ช่วยบรรเทาอาการปวดซึ่งถุง ประคบร้อนก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยบรรเทาอาการปวดต่างๆ  ซึ่งถุงประคบร้อนเป็นอุปกรณ์ที่พบเห็นได้ ในทั่วๆไปและมีหลายแบบทั้ง แบบถุงประคบร้อนแบบไฟฟ้าและแบบไม่ใช้ไฟฟ้า โดยถุงประคบที่ใช้ แบบไฟฟ้าอาจจะมีอันตรายเกี่ยวกับการใช้ไฟฟ้าต่อผู้ใช้งาน ซึ่งการประคบร้อนที่ถูกวิธีควรจะมี อุณหภูมิที่เหมาะสม แต่เราจะเห็นได้ว่าถุงประคบร้อนในปัจจุบันนันไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้
ผู้จัดท้าจึงได้พัฒนาถุงประคบร้อนให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น เพื่อให้เหมาะสมและปลอดภัยต่อ ผู้ใช้งาน


>>คลิ๊กเพื่อดาวน์โหลด<<
Read More